เหล่าศิษย์ถามอาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ?"
อาจารย์เซนตอบว่า "วันนี้พวกเจ้าจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด และง่ายดายที่สุด นั่นคือให้ทุกๆ คน แกว่งมือไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด จากนั้นแกว่งกลับไปด้านหลังให้ไกลที่สุด" กล่าวจบจึงปฏิบัติให้เหล่าศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง 1 รอบ จากนั้นกล่าวต่อไปว่า "นับตั้งแต่วันนี้ พวกเจ้าจงทำเช่นนี้ติดต่อกันวันละ 300 ครั้ง ทุกๆ วัน ทุกคนสามารถทำได้หรือไม่?"
บรรดาศิษย์เซน พากันสงสัย เอ่ยถามว่า "พวกเราต้องทำเช่นนี้ไปเพื่ออะไร?"
อาจารย์เซนชี้แจงว่า "หากพวกเจ้าสามารถปฏิบัติได้สำเร็จ อีก 1 ปีให้หลังพวกเจ้าจะทราบถึงหนทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ"…
สานุศิษย์ผู้หนึ่งเอ่ยถามอาจารย์เซนอู๋เต๋อว่า “ท่านอาจารย์ คนเรามีหัวใจดวงเดียว เหตุใดบางครั้งจึงใจกว้าง บางครั้งจึงใจแคบ?”
อาจารย์ เซนมิได้ตอบคำถามข้อนี้ แต่กลับบอกกับสานุศิษย์ว่า “ตอนนี้เจ้าจงหลับตาลง แล้วสร้างภาพกำแพงเมืองแห่งหนึ่งขึ้นมาในใจของเจ้า”
สานุศิษย์ผู้นั้นหลับตาลงและปฏิบัติตามคำของอาจารย์เซน จากนั้นสักครู่จึงกล่าวว่า “กำแพงเมืองสร้างเสร็จแล้ว”
อาจารย์ เซนจึงบอกว่า “เช่นนั้น เจ้าจงหลับตาต่อไป คราวนี้สร้างภาพเส้นขนเส้นหนึ่งขึ้นในใจ” สานุศิษย์ทำตามคำของอาจารย์ เวลาผ่านไปไม่นาน จึงกล่าวว่า “เส้นขนสำเร็จแล้ว”
จากนั้นอาจารย์เซนจึงให้สานุศิษย์ลืมตา ทั้งยังเอ่ยถามว่า “ยามที่เจ้าสร้างกำแพงเมืองขึ้นมาในใจ เจ้าใช้ใจของเจ้าสร้างมันเพียงคนเดียว หรือใช้ใจของผู้อื่นมาร่วมสร้างด้วย?”
“ใช้ใจของข้าเพียงคนเดียว” สานุศิษย์ตอบ
“แล้วตอนที่เจ้าสร้างเส้นขนขึ้นมาในใจเล่า เจ้าใช้เพียงเสี้ยวหนึ่งของใจ หรือว่าใช้ทั้งหมดของใจในการสร้างมันขึ้นมา?”
สานุศิษย์ตอบว่า “ใช้ทั้งหมดของใจ”
ยามนี้อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า “เจ้าสร้างกำแพงเมืองทั้งหลังก็ใช้ใจเพียงดวงเดียว หรือจะสร้างขนแค่เส้นเดียวก็ต้องใช้ใจดวงนี้ดวงเดียวเช่นกัน แสดงว่าใจเพียงหนึ่งใจนั้นสามารถใหญ่ได้ เล็กได้ แคบได้…
ในประเทศญี่ปุ่น มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนปัญญาจะทำให้กลับตัวเป็นคนดีได้หลวงลุงซึ่งบวชเป็นพระเซนอยู่ทราบเรื่อง รีบเดินทางกลับมายังบ้านน้องสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืนเช้ามาขณะกำลังจะเดินทางกลับ หลวงลุงหารองเท้ามาสวมด้วยกิริยางกๆ เงิ่นๆ เจ้าหนุ่มที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาแอ๋กลับจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่งเห็นเข้า เขาจึงกุลีกุจอเข้าไปช่วยผูกเชือกรองเท้า หลวงลุงยืดตัวขึ้นพลางลูบหัวพร้อมกล่าวว่า “หลานเอ๊ย ! หลวงลุงต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงลุงนี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็ไม่สะดวก หูตาฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่ผูกเชือกรองเท้ายังต้องพึ่งคนอื่นเลย หลวงลุงขอโทษเธอจริงๆนะ เฮ้อ! ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้ใครเลย”ไม่พูดเปล่า น้ำตาหลวงลุงร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชาย นาทีนั้นเอง ชายหนุ่มเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงลุงมาเป็นเวลานานแล้วใจก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ ซึ่งต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า โอ... เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน หยาดน้ำตาบนหลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน…
หลวงพ่อตันซัน เป็นพระเซ็นที่มีความแตกฉานมาก ท่านมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 100 ปีมานี่เอง ท่านเป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลในโตเกียวด้วย
วันหนึ่ง ท่านได้ชวนท่านเอกิโด เพื่อนพระภิกษุซึ่งเคร่งครัดหยุมหยิมในระเบียบแบบแผนต่างๆ ออกเดินธุดงค์ ระหว่างทาง พอมาถึงที่ต่ำเป็นแอ่งมีโคลนเฉอะแฉะ จะเดินอ้อมก็ไม่ได้ ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งตัวเสียสวยงาม กำลังเก้ๆ กังๆ พยายามจะเดินข้ามตรงที่แฉะ แต่ไม่กล้า เพราะกลัวเครื่องแต่งกายที่งดงามจะเปรอะเปื้อน ก่อนที่ท่านเอกิโดจะแปลกใจที่มีหญิงสาวแต่งตัวเสียสวยงามมาเดินอยู่ในป่าคนเดียว ก็ต้องตกตะลึง เพราะเห็นท่านตันซันก้าวเดินสวบๆ เข้าไปหาหญิงผู้นั้น แล้วช้อนร่างอุ้มเดินข้ามแอ่งโคลนไป พอพ้นก็วางลงเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งสองเดินทางต่อไปโดยไม่ได้ปริปากพูดจากัน
จนกระทั่งถึงเวลาหยุดพักค่ำวันนั้น เมื่อจัดเตรียมที่พักแล้ว ท่านเอกิโดก็หลุดปากออกมาอย่างกลั้นใจจะไม่พูดไม่ไหว เป็นเชิงสั่งสอนท่านตันซัน ว่า…
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่ง ไปปรึกษาอาจารย์เซนถึงวิถีแห่งเซนที่เขายังมีอาจข้ามผ่าน โดยเอ่ยถึงปัญหาของตนเองว่า "ท่านอาจารย์ จะทำอย่างไรดี กระผมมิอาจปล่อยวางเรื่องบางเรื่อง มิอาจปล่อยวางจากคนบางคน?"
อาจารย์เซนตอบว่า "ทุกสิ่งล้วนสามารถปล่อยวาง"
อุบาสกแย้งว่า "ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ยังคงมีสิ่งที่กระผมปล่อยวางไม้ได้"
อาจารย์เซนจึงบอกให้อุบาสกผู้นี้ถือถ้วยชาใบหนึ่งไว้ในมือ จากนั้นอาจารย์เซนจึงรินน้ำชาร้อนๆ ลงไปในถ้วย รินลงไปจนน้ำชาล้นถ้วยออกมารดมือของอุบาสกที่ถืออยู่ เมื่อโดนน้ำชาร้อนลวกมือ อุบาสกจึงต้องปล่อยถ้วยชาลงพื้น
ยามนั้นอาจารย์เซนจึงสอนว่า "ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจละวางได้ เมื่อเกิดทุกข์ ย่อมยอมปล่อยวางโดยธรรมชาติ"
ปัญญาเซน : ละวางได้จึงไร้ทุกข์
ยังมีพระเซนรูปหนึ่ง นามว่า
“ต้าเหนียน” สนใจการแกะสลักพระพุทธรูปเป็นอย่างยิ่ง ทว่าติดขัดที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยชี้แนะ รูปสลักพระพุทธรูปที่ทำออกมา จึงล้วนขาดตกบกพร่อง ไม่เป็นที่พอใจ
สุดท้ายจึงตัดสินใจออกเดินทางไปกราบขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซนอู๋เต๋อ เพื่อหวังว่า อาจารย์เซนอู่เต๋อจะถ่ายทอดเคล็ดลับการแกะสลักพระพุทธรูปที่ถูกต้องให้
อาจารย์เซนอู๋เต๋อตอบตกลง หลังจากนั้นทุกๆ เช้า พระเซนรูปนี้ต้องไปกราบอาจารย์ที่หอธรรม โดยอาจารย์เซนอู๋เต๋อเพียงแต่ยื่นหินอัญมณีใส่มือให้เขา และสั่งให้กำเอาไว้ให้แน่น จากนั้น จึงสนทนาถึงเรื่องทั่วๆไป เนื้อหาการสนทนาครอบคลุมทุกเรื่อง เว้นเพียงเรื่องการแกะสลักพระพุทธรูปเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้นอาจารย์เซนยังไม่เคยอธิบายว่า เหตุใดพระเซนต้าเหนียนจึงต้องกำหินอัญมณีเอาไว้ตลอดเวลา
เวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพระเซนต้าเหนียน เริ่มเกิดความเบื่อหน่าย ทว่าไม่กล้าเอ่ยปาก
กระทั่งวันหนึ่ง อาจารย์เซนอู๋เต๋อยื่นหินให้พระเซนต้าเหนียน เหมือนเช่นทุกๆ วัน จากนั้นก็ตระเตรียมสนทนา…
ยังมีบัณฑิตผู้หนึ่ง เดินทางเข้าเมืองหลวง เพื่อหวังเข้าร่วมการสอบจอหงวน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้ว โดยในระหว่างที่รอเวลาสอบ ได้ขออาศัยอยู่ที่วัดเซนแห่งหนึ่ง
ทว่าในคืนก่อนสอบ เมื่อบัณฑิตล้มตัวลงนอนหลับไป เขาได้ฝันถึงเหตุการณ์สามเหตุการณ์ดังนี้
ความฝันที่หนึ่งคือ เขาปีนขึ้นไปปลูกผักกาดขาวอยู่บนกำแพง
ความฝันที่สองคือ ในฝันฝนตก ส่วนเขาก็สวมงอบทั้งยังกางร่มอีกหนึ่งคัน
ความฝันสุดท้าย เขานอนอยู่กับหญิงสาวที่แอบรัก ทั้งสองเปลือยเปล่า แต่กลับนอนหันหลังชนกัน
เมื่อตื่นขึ้นมา ความฝันทั้งสามเรื่องรบกวนจิตใจ จนบัณฑิตหนุ่มต้องรีบไปหาหมอดูเพื่อให้ช่วยทำนายความฝัน ไขปริศนาให้กระจ่าง
เมื่อหมอดูได้ทราบเรื่องราวความฝันทั้งหมดก็กล่าวอย่างมั่นใจว่า
“พ่อหนุ่มจงเดินทางกลับบ้านไปเถิด การสอบครั้งนี้คงไม่ราบรื่น เจ้าลองคิดดูว่าการปลูกผักบนกำแพงย่อมไม่เห็นผล มิใช่เสียแรงเปล่าดอกหรือ? ส่วนการใส่งอบแล้วยังกางร่มก็เป็นการทำสิ่งที่เกินความจำเป็น …
มีอาจารย์ผู้มีเชื่อเสียงคนหนึ่ง ชื่อว่า เบ็งกะอี เป็นผู้มีชื่อเสียงในการเทศนาธรรม คนที่มาฟังท่านนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ ในวงของ พวกนิกายเซ็น พวกนิกายอื่น หรือคนสังคมอื่น ก็มาฟังกัน ชนชั้นไหนๆ ก็ยังมาฟัง เพราะว่า ท่านไม่ได้เอา ถ้อยคำในพระคัมภีร์ หรือในหนังสือ หรือ ในพระไตรปิฎกมาพูด แต่ว่าคำพูด ทุกคำนั้น มันหลั่งไหล ออกมาจาก ความรู้สึกในใจ ของท่านเองแท้ๆ ผลมันจึงเกิดว่า คนฟังเข้าใจ หรือชอบใจ แห่กันมาฟัง จนทำให้…
"คนตาบอดถือโคมไฟ" ข้อคิดดีๆ ที่เหมาะกับการนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่
ตรอกสายหนึ่งที่ทั้งมืดทั้งแคบ…ไม่มีดวงไฟส่องทางให้ความสว่างแม้แต่น้อย มืดมากกระทั่งนิ้วมือทั้งห้า ยังไม่อาจมองเห็นได้
คืนวันหนึ่ง… พระรูปหนึ่งเดินผ่านเข้ามายังตรอกเพื่อมุ่งหน้าไปยังอาราม
เมื่อเดินไปเรื่อยๆ พระรูปนี้จึงทั้งเดินไปชนผู้อื่น
และถูกผู้อื่นเดินมาชนไม่หยุดหย่อน สร้างความลำบากยิ่งนัก…
ตอนนั้นเอง คนผู้หนึ่งถือโคมไฟ เดินเข้ามายังตรอกดังกล่าว
พลันทำให้ในตรอกเกิดแสงสว่างขึ้นพอสมควร
พระได้ยินคนเดินผ่านทางกล่าวว่า…
“ คนตาบอดผู้นั้นช่างแปลกนัก ตนเองมองไม่เห็นแท้ๆ ใยต้องถือโคมไฟให้วุ่นวาย ”
เมื่อพระได้ยินก็รู้สึกแปลกใจ รอจนกระทั่งคนตาบอด ถือโคมไฟคนนั้นเดินผ่านมา
จึงเอ่ยถามขึ้นว่า… “ ขออภัย ท่านตาบอดจริงๆ…
ค่ำวันหนึ่ง ขณะที่อาจารย์เซนชีหลี่กำลังนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมอยู่ในอารามอันเงียบสงัด ปรากฏโจรผู้หนึ่งลอบเข้ามาในกุฏิ ทั้งยังใช้มีดยาวจ่อที่ลำคอของอาจารย์เซนพลางกล่าวว่า
"ส่งเงินในตู้มาให้ข้าให้หมด ไม่งั้นข้าจะเอาชีวิตเจ้า"
อาจารย์เซนตอบกลับเรียบๆ ว่า
"เงินอยู่ในลิ้นชัก มิได้อยู่ในตู้ ท่านจงหยิบฉวยเอาเอง แต่อย่านำไปหมด เหลือเอาไว้บ้าง เพื่อให้เราใช้ประทังชีพในวันพรุ่งนี้"
จอมโจรไม่คาดคิดว่าจะสามารถปล้นเงินได้อย่างง่ายดายถึงเพียงนี้ จึงกล่าวด้วยความลิงโลดว่า
"ยังนับว่าเจ้าพอมีหัวคิดอยู่บ้าง เจ้าลาโล้น!"
มิคาด อาจารย์เซนกลับโพล่งขึ้นมาว่า
"เอาเงินผู้อื่นไปมากมายขนาดนี้ ท่านควรกล่าวขอบใจสักคำหนึ่ง การที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์นั้น ไม่ควรละโมบโลภมากจนเกินไป แต่ควรหลงเหลือช่องว่างที่จะแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง" "ขอบใจ" จอมโจรกล่าวตัดรำคาญ พลางหันกายหมายจากไป ทว่าในใจกลับเกิดความสับสน เพราะเป็นโจรมากว่า…