“If love, love openly”
ในวัดนิกายเซนอีกเหมือนกัน มีภิกษุอยู่หลายสิบรูปและมีนักบวชผู้หญิงที่เรียกว่า nun อยู่คนหนึ่งชื่อ เอฉุ่น รวมอยู่ด้วย. เอฉุ่นเป็นหญิงที่สวยมาก แม้จะเอาผมออกเสียแล้ว แม้จะใช้เครื่องนุ่งห่มของนักบวชที่ปอนมาก ก็ยังสวยอย่างยิ่งอยู่นั้นเอง และทำความวุ่นวายให้แก่ภิกษุทั้งหมดนั้นมาก แทบว่าจะไม่มีจิตใจที่จะสงบได้. ภิกษุองค์หนึ่งทนอยู่ไม่ได้ ก็เขียนจดหมายส่งไปถึง ขอร้องที่จะมีการพบอย่างเฉพาะตัว. เอฉุ่นก็ไม่ตอบจดหมายนั้นอย่างไร แต่พอวันรุ่งขึ้น กำลังประชุมอบรมสั่งสอนกันอยู่ ซึ่งมีชาวบ้านจำนวนมากรวมอยู่ด้วย พอสั่งสอนจบลง เอฉุ่นก็ยืนขึ้นกล่าวถึงภิกษุนั้นว่า ภิกษุที่เขียนจดหมายถึงฉันนั้น ขอให้ก้าวออกมาข้างหน้าจากหมู่ภิกษุเหล่านั้นทีเถิด
ถ้ารักฉันมากจริงๆ ก็จงมากอดฉันที่ตรงนี้.
นิทานเรื่องนี้จะสอนว่ากระไร ก็หมายความว่า การสอนการอบรมที่ตรงไปตรงมาตามแบบของนิกายเซนนั้นกล้ามาก ทำให้คนเรากล้าหาญมาก และไม่มีความลับที่จะต้องปิดใคร จะว่าอย่างไรก็ได้ สามารถที่จะเปิดเผยตนเองได้อย่างสูงสุด มีสัจจะ มีความจริง โดยไม่ถือว่ามีความลับอยู่ในโลก. เราจะต้องเป็นผู้ที่ปฏิญญาตัวอย่างไรแล้ว จะต้องทำอย่างนั้น ไม่มีความลับที่ปกปิดไว้ จนสะดุ้งสะเทือน.
มีหนุ่มคนหนึ่ง เขาอยากจะเป็นนักฟันดาบที่เก่งกาจ เขาไปหาอาจารย์สอนฟันดาบที่เก่งกาจให้ช่วยสอนเขาให้เป็นนักฟันดาบ. เขาถามอาจารย์ว่าจะใช้เวลาสักกี่ปี. อาจารย์ตอบว่าประมาณ ๗ ปี. เขาชักจะเรร่วน เพราะว่า ๗ปี นี้มันเป็นเวลามิใช่น้อย ฉะนั้นเขาขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายามให้สุดฝีมือสุดความสามารถในการศึกษาฝึกฝน ทั้งกำลังกายกำลังใจทั้งหมด. ถ้าเป็นเช่นนี้ จะใช้เวลาสักกี่ปี. อาจารย์ก็บอกว่า “ถ้าอย่างนั้นต้องใช้เวลาสัก ๑๔ปี” แทนที่จะเป็น ๗ปี กลายเป็น ๑๔ปี ฟังดู! หนุ่มคนนั้นก็โอดครวญขึ้นมาว่า บิดาเขาแก่มากแล้ว จะตายอยู่รอมร่อแล้ว เขาจะพยายามอย่างยิ่ง ให้บิดาของเขาได้ทันเห็นฝีมือฟันดาบของเขาก่อนตาย เขาจะแสดงฝีมือฟันดาบของเขาให้บิดาของเขาชม ให้เป็นที่ชื่นใจแก่บิดา ให้ทันสนองคุณของบิดา จะต้องใช้เวลาสักเท่าไร ขอให้อาจารย์ช่วยคิดดูให้ดีๆ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า “ถ้าอย่างนั้นต้อง ๒๑ ปี นี้มันเป็นอย่างไร ขอให้นึกดู แทนที่จะลดลงมา มันกลายเป็นเพิ่มขึ้นเป็น ๒๑ปี หนุ่มคนนั้นจะเล่นงานอาจารย์อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะเป็นอาจารย์ จะทำอย่างอื่นก็ไม่ถูก นึกไม่ออก เพราะไม่มีใครจะเป็นอาจารย์สอนฟันดาบให้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ของประเทศ ดังนั้นเขาก็ซังกะตายอยู่ไปกะอาจารย์ ด้วยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีนั่นเอง.
หลายวันต่อมา อาจารย์ก็ใช้คนคนนี้ แทนที่จะเรียกไปสอนให้ใช้ดาบฟันดาบ กลับให้ทำครัว…
เรื่องมีอยู่ว่า ชายคนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว ได้รับของขวัญชิ้นหนึ่งจากพ่อเป็นม้าหนุ่ม ม้าตัวนี้ฝีเท้าดีมาก ท่วงทีงามสง่า แข็งแรง เขาดีใจมากกับรางวัลแห่งชีวิตชิ้นนี้ ทันทีที่ได้ม้าจากพ่อ เขาจึงกระโดดขึ้นควบขี่ทันทีอย่างมีความสุข
แต่พลันที่เขากระโดดขึ้นขี่ ม้าตัวนี้ก็ออกวิ่งอย่างรวดเร็ว ไม่ยอมหยุด บังคับอย่างไรก็ไม่เป็นผล ท่ามกลางความเร็วของฝีเท้าม้า เขาไม่กล้ากระโดดลงเพราะเกรงอันตราย ในเมื่อไม่กล้ากระโดดลงจากหลังม้า บัณฑิตหนุ่มจึงต้องควบขี่อยู่บนหลังม้าเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น ผมสีดำสนิท ม้าพาเขาวิ่งจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง จากประเทศสู่ประเทศ จากวันสู่คืน จากเดือนสู่ปี จากวัยหนุ่มแน่นผ่านไปถึงวัยกลางคน จนกระทั่งผมสีดำของเขากลายเป็นผมสีดอกเลาขาวโพลนเต็มหัว แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังไม่ได้ลงจากหลังม้า ร่างกายของเขาทรุดโทรม อมโรค เหี่ยวย่น หน้าตาของเขามีแต่ริ้วรอยของวันเวลา ดวงตาของเขาแห้งโหยขาดชีวิตชีวา เหมือนซากศพที่ยังมีลมหายใจ
วันหนึ่ง ขณะควบขี่อยู่บนหลังม้าผ่านไปทางย่านชุมชนแห่งหนึ่ง ผู้คนหลายร้อยคนเห็นเขาควบม้ามาแต่ไกล ต่างพากันมุงดู ชาวบ้านจึงตะโกนถามด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเขากำลังจะควบม้าไปไหน ชายชราอดีตบัณฑิตหนุ่มตะโกนตอบสวนออกไปว่า “ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผมกำลังจะไปไหน เพราะนับแต่ขึ้นขี่อยู่บนหลังม้า ผมก็ยังไม่เคยลงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าคุณอยากรู้ว่าผมกำลังจะไปไหน ก็ลองถามม้าของผมดูสิ”
แล้วม้าจะตอบแทนเขาได้ไหม.
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ควบขี่อยู่บนหลังม้ามาแสนนาน จนชีวิตเริ่มเสียสมดุล บัดนี้เราควรจะเริ่มทบทวนวิถีชีวิตตัวเองได้แล้ว จากนั้นควรบอกตัวเองให้มองหาวิธีลงจากหลังม้าเป็นพักๆ แล้วค่อยกลับขึ้นไปขี่ใหม่ก็ยังได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการควบขี่อยู่บนหลังม้าเพียงอย่างเดียว
ศิลปะการลงจากหลังม้าเป็นพักๆ หรือลงแบบลาขาดเพื่อจัดสมดุลชีวิต ไม่ใช่ศิลปะขั้นสูง ใครๆก็ทำได้…
มีอยู่วันหนึ่ง เจ้าแมงป่องตัวหนึ่งไต่ไปมาตามริมผั่งน้ำจน เซ็งชีวิตเลยเกิดความคิดขึ้นมาว่า ถ้าได้ข้ามน้ำไปยังฝั่งโน้น คงมีอะไรให้ทำมากกว่าการไต่ไปมาอยู่ที่เดิมอย่างซ้ำซากเป็นแน่ มันมองหาวิธีที่จะข้ามน้ำไปยังฝั่งโน้นอยู่หลายวัน และในที่สุดโอกาสก็มาถึงจนได้ เมื่อมันพบกบตัวหนึ่งกำลังจะว่ายข้ามน้ำไปยังฝั่งตรงข้ามพอดี เจ้าแมงป่องเห็นเช่นนั้น จึงขอเป็นผู้โดยสารขี่หลังกบไปชมวิวฝั่งโน้นบ้าง กบนึกสังหรณ์ใจแปลกๆ จึงถามว่า “แมงป่องเพื่อนรัก เธอจะรับประกันได้อย่างไรล่ะว่า เมื่อฉันให้เธอขี่หลังข้ามไปฝั่งโน้นแล้ว เธอจะไม่แว้งมาต่อยฉัน” “กบเพื่อนรัก ทำไมจึงมองฉันในแง่ร้ายเช่นนั้น ถ้าคนอย่างฉันไม่มีคุณธรรมต่อเพื่อนเช่นเธอเสียแล้ว ในโลกนี้คงหาคนดีไม่ได้อีกแล้ว” “มั่นใจนะว่าเธอจะไม่ต่อยฉันกลางแม่น้ำแน่ๆ” กบคาดคั้น “โธ่เพื่อนเอ๋ย ถ้าฉันต่อยเธอ ฉันก็จมไปพร้อมๆ กับเธอน่ะสิ” แมงป่องอธิบายอย่างสมเหตุสมผล “เออ จริงของเธอสินะ มาสิ ถ้างั้นเธอขึ้นขี่หลังฉันได้เลย เราจะข้ามไปฝั่งโน้นด้วยกัน” ว่าแล้ว เจ้าแมงป่องก็ได้ขึ้นขี่หลังกบสมใจ กบน้อยพาเพื่อนร่วมทางลอยไปสักพักหนึ่งก็จะถึงฝั่ง พอเห็นฝั่งเคลื่อนตัวมาใกล้ทุกที เหลืออีกเพียงศอกเดียวเท่านั้น ตอนนั้นเองที่แมงป่องเผลอตัวต่อยหลังกบเข้าอย่างถนัดถนี่ กบร้องด้วยความเจ็บปวดขึ้นสุดเสียง พอรู้สึกตัว กบก็หันมาถามแมงป่องว่า “ไหนเธอรับปากว่าจะไม่ต่อยฉัน แล้วนี่เธอทำอะไรลงไป” “ไม่รู้สิ ฉันไมได้คิดจะต่อยเธอเลยนะ แต่มารู้สึกตัวอีกทีฉันก็ต่อยเธอไปแล้ว” แมงป่องตอบอย่างเสียไม่ได้ ไม่ยี่หระกับสิ่งที่ตนทำแม้สักนิด อนิจจา กบน้อยพอลอยแตะฝั่งก็ถึงแก่กรรมไป ส่วนแมงป่องก็ขึ้นฝั่งอย่างสบายใจ ดูไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรกับสิ่งที่ตนเป็นคนก่อแม้แต่น้อย...
คำคำหนึ่งขึ้นมาทันที นั่นคือคำว่า “สันดาน”…
เต่าตัวหนึ่ง เป็นสหาย กับ ปลาตัวหนึ่ง วันหนึ่งได้พบกัน ปลาถามว่า... “สหายเอ๋ย ท่านไปที่ไหนเสียเป็นนาน?” “ไปเที่ยวบนบกมา” เต่าตอบ “บกเป็นอย่างไร” ปลาถาม “อ๋อบก งดงามมาก มีอะไรสวยๆ แปลกๆ ลมพัดเย็นสบาย มีอาหารดีเยอะ มีเสียงแปลกๆ ซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ในที่นี้เลย”
ปลาตอบ “ฉันไม่เข้าใจเลย สหายเอ๋ย บกนั้นอ่อนละมุน ให้ศีรษะของเราแหวกว่าย ไปได้สะดวกเช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่ “บกไหลเอ่อไปได้ตามร่อง เช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่ “บกเย็นชุ่ม ซึบซาบ เอิบอาบ เช่นนี้หรือ?” ไม่ใช่ “บกเป็นละลอก ริ้วๆ เมื่อถูกลมพัดหรือ?” ไม่ใช่
แม้ปลาจะตั้งคำถามมาอย่างไร คำตอบก็มีแต่ “ไม่ใช่” ทั้งนั้น ในที่สุด ปลาก็หมดศรัทธา ประฌามเต่าว่า “สหายเอ๋ย ท่านโกหกเสียแล้ว เอาสิ่งที่ ไม่มีจริง เป็นจริง มากล่าว”…
ยังมีเณรอยู่รูปหนึ่งนั่งร้องไห้อยู่ที่พื้น รอบข้างเต็มไปด้วยเศษกระดาษที่เขียนตัวอักษรแล้ว ทิ้งอยู่เต็มพื้น อาจารย์เซนผ่านมาพบเข้าจึงเอ่ยถามเณรว่า “เป็นไรไปแล้ว?” เณรตอบว่า “เขียนได้ไม่ดี” อาจารย์เซนได้ยินดังนั้นจึงหยิบกระกาษที่ถูกวางทิ้งเหล่านั้นขึ้นมาดู จากนั้นเอ่ยถามเณรด้วยความข้องใจว่า “เขียนได้ไม่เลวทีเดียว เหตุใดต้องโยนทิ้ง แล้วทำไม่เจ้าต้องร้องไห้เล่า?” “ศิษย์รู้สึกว่ามันยังไม่ดีพอ” เณรกล่าวพลางร้องไห้ “ศิษย์ชอบความสมบูรณ์แบบ ผิดเพี้ยนไปแม้เพียงน้อยนิด ศิษย์ล้วนมิอาจรับได้”
อาจารย์ได้ยินดังนั้นจึงกล่าวกับเณรว่า “ปัญหาคือโลกนี้มีใครบ้างที่ไม่เคยผิดพลาดเลย” จากนั้นจึงเตือนสติเณรว่า “ดูอย่างตัวเจ้าเอง เจ้าบอกว่าเจ้ารักความสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อไหร่ไม่ได้ดั่งใจแม้เพียงเรื่องเล็กน้อย กลับมีโทสะ กลับร้องไห้ออกมา เช่นนี้ตัวเจ้าก็ถือว่าไม่สมบูรณ์แบบเช่นกันใช่หรือไม่”
ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ วิถีแห่งเซนคือการใช้ชีวิตประจำวันตามธรรมชาติ
เมื่อครั้งขงจื้อ มหาปราชญ์แห่งเมืองจีนนั่งรถม้าผ่านเชิงเขาแห่งหนึ่งเค้าเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งชุดสำหรับไว้ทุกข์
เธอซบหน้าร้องไห้กับหลุมฝังศพอย่างน่าเวทนาทำให้ขงจื้อ สั่งให้รถมาหยุดแล้วให้ลูกศิษย์ลงไปถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อลูกศิษย์เห็นว่านางพร้อมที่จะพูดด้วยแล้วจึงถามว่า
“ท่านร้องให้เพราะเหตุใดมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นกับครอบครัวของท่าน“ หญิงผู้นั้นตอบพร้อมทั้งใบหน้าที่เปื้อนด้วยน้ำตาว่า
“ในหมู่บ้านนี้มีเสือร้ายออกมารังควานชาวบ้านอยู่เป็นประจำบิดาและสามีของข้าถูกเสือทำร้ายจนเสียชีวิต แล้ววันนี้มันก็ได้พรากชีวิตลูกของข้าไปด้วย”
ขงจื้อต้องการทราบรายละเอียดมากขึ้นจึงลงจากรถม้าไปสอบถามนางด้วยตนเอง“เมื่อเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นเช่นนี้เสือก็เที่ยวอาละวาดอยู่บ่อยครั้ง แล้วทำไมพวกท่านไม่ยอมย้ายออกจากหมู่บ้านนี้” หญิงผู้นั้นสัมผัสได้ว่าขงจื้อมีท่าทีแห่งความห่วงใยและไตรีถามอย่างจริงใจ เธอจึงเล่าให้ฟังอย่างเต็มใจว่า
“เหตุที่พวกเราไม่ยอมย้ายออกจากหมู่บ้านแห่งนี้เพราะที่นี่ไม่มีทรราชถึงแม้หมู่บ้านของเราจะไม่อุดมสมบูรณ์เท่าใดนักแต่พวกเราก็อยู่อย่างสงบได้ ส่วนเรื่องของเสือร้ายนั้นก็ช่วยกันป้องกันตามมีตามเกิดได้ แต่ที่สำคัญกว่านั้นที่นี่ไม่มีทรราชที่จะทำให้หมู่บ้านแห่งนี้วุ่นวาย ไม่มีคนไร้ศีลธรรมที่จะทำให้พวกเราเป็นอยู่ด้วยความหวาดกลัว เราจึงเลือกที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป“
เมื่อขงจื้อและลูกศิษย์ได้คำตอบเช่นนั้นก็อวยพรขอให้นางโชคดีแล้วทั้งหมดก็ออกเดินทางต่อไปขณะที่รถมากำลังจะเคลื่อนออกไปขงจื้อก็กล่าวกับลูกศิษย์ว่า
“พวกเจ้าจงจำไว้ว่าทรราชนั้น ร้ายกว่าเสือ”
ชาย ๓ คน จมความทุกข์ คิดไม่ตก จิตใจรก คุ้นคิด แต่ปัญหาจึง ร้องขอ เซนอู๋เต๋อ ชี้ปัญญา อาจารย์ว่า "ทุกวันนี้ อยู่เพื่ออะไร"
คนแรกตอบ "ไม่อยากตาย" นั่นแหละเหตุ
คนสองเซด "มีลูกหลานมากมาย แสนรักใคร่"
คนสามตอบ "เป็นเสาหลัก ตายได้ไง"
อาจารย์ไข ปัญหาคลาย ทั้งสามคน
คนหนึ่งมีชีวิตอยู่ เพราะหวาดกลัว
คนหนึ่งรักตัว กลัวชรา ไร้ใครสน
อีกคนแบกภาระหนักอึ้ง
น่าอับจนทั้งสามคน ลืมหลักการใช้ชีวิตอยู่ สุขได้ไง หลังจากนั้น เซนอู๋เต๋อ ถามความสุข
คนแรกรุก รีบตอบ "มีเงินใช้"
คนสองตอบ มีรักซิถึงจะสุข ได้สมใจ
คนสามว่า มีชื่อเสียงไง ให้เลื่องลือ
อาจารย์ชี้ ไม่เห็นเลยซึ่งความสุขกับเป็นทุกข์เสียด้วยซ้ำ แน่แล้วหรือหากมีทรัพย์ มีคนรัก…
พระอาจารย์โมกุเอ็นเป็นนักบวชที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เพราะท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายเซนรูปหนึ่ง ตลอดช่วงชีวิตของท่านจะมีใบหน้าสงบนิ่ง ท่านไม่แสดงความรู้สึกทางสีหน้าใดๆ แม้แต่น้อย ช่วงบั้นปลายของท่านต้องเผชิญกับโรคร้าย แต่เพราะยังห่วงเรื่อง ผู้สืบทอด ท่านจึงพยายามฝืนสังขารตนเองเอาไว้ จนกระทั้งในวันหนึ่งมีลูกศิษย์ที่ต่างนัดหมายกันมาเยี่ยมท่านเป็นจำนวนมาก ท่านโมกุเอ็นจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะหาผู้สืบทอด
“ใครก็ตามที่แสดงความหมายของเซนได้เหมาะสมที่สุด คนผู้นั้นจะได้รับบาตรและจีวร เพื่อแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากอาจารย์” ศิษย์คนแล้วคนเล่าต่างก็แสดงภูมิความรู้ของตน แต่ทว่าก็ยังไม่มีผู้ใดได้รับบาตรและจีวรจากพระอาจารย์โมกุเอ็น จนเหลือแต่อันจูศิษย์ที่อยู่กับพระอาจารย์โมกุเอ็นมานาน
“เจ้าละอันจู”
ท่านอันจูไม่ได้กล่าวถ้อยคำใด ท่านคลานเข้าไปหาพระอาจารย์โมกุเอ็น แล้วดันถ่วยยาที่วางอยู่เข้าไปหาพระอาจารย์
“น่าเสียดายยิ่งนัก แม้แต่เจ้าที่อยู่กับอาจารย์มานานก็ยังไม่สามารถเข้าใจเซนได้ถึงแก่นแท้” พระอาจารย์โมกุเอ็นกล่าวจบก็เอื้อมไปหยิบถ้วยยา เมื่ออันจูเห็นเช่นนั้นแทนที่จะประคองพระอาจารย์กลับเลื่อนถ้วยยากลับมาไว้ที่เดิม
เมื่อเห็นเช่นนั้นใบหน้าของพระอาจารย์โมกุเอ็นที่เคยนิ่งเฉยมาตลอดชีวิตก็ปรากฏรอยยิ้ม สร้างความประหลาดใจให้แก่บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย
“อันจูเจ้าเหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบทอด เช่นนี้แล้วอาจารย์ก็คงละสังขารได้เสียที”
แง่คิดจากเซน : เข้าใจถึงความหมายการเลื่อนถ้วยยาของอันจูหรือไม่การเลื่อนถ้วยยาของอันจูในครั้งแรกหมายถึงว่า พระอาจารย์เต็มไปด้วยโรครุมเร้ามากมาย การเลื่อนถ้วยยากลับที่เดิมก็เพื่อที่จะกล่าวว่า “อย่าฝืนสังขารอีกเลย” นั่นคือพระอันจูบอกให้ท่านพระอาจารย์โมกุเอ็น อย่ายึดติดกับการหาผู้สืบทอดโดยการฝืนสังขารตนนั่นเอง
นานมาแล้ว ในประเทศจีนสมัยก่อน สามี ภรรยาหนุ่มสาวคู่หนึ่งรักกันมาก บังเอิญฝ่ายภรรยาล้มป่วยหนัก ขณะใกล้ตาย ภรรยาได้ยึดมือสามีไว้แน่น พรำ่รำพันความรักที่นางมีต่อสามีเหลือล้น สารภาพว่าไม่อยากจะจากพรากไปเลย นางขอร้องให้สามีอย่าได้ไปเป็นของใครอื่น หากสามีไปมีอะไรกับหญิงใดแล้ว นางจะเป็นผีกลับมารบกวนทำพิษเล่นงานไม่หยุด
เหตุการณ์ทั้งหลายแหล่เป็นไปได้อย่างปกติในระยะ ๓ เดือนแรก ต่อจากนั้นชายคนนี้ก็ไปพบรักเข้ากับหญิงอีกคนหนึ่งถึงกับจัดการหมั้นเพื่อจะแต่งงานกัน
เมื่อเหตุการณ์เป็นไปในรูปนี้ ในเวลากลางคืน ไม่เว้นแต่ละคืนก็ปรากฏว่า มีผีภรรยาที่ตายไปมาหลอกชายคนนั้น ตัดพ้อต่อว่าขู่เข็นในการที่เขาไม่รักษาคำมั่นสัญญา ชายคนนั้นหมดหนทางที่จะไปแก้ตัวโต้เถียงชี้แจงเหตุผลอย่างไร ภรรยาผู้ตายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เขาก็ทราบดีว่าหล่อนไม่ใช่คนฉลาดหลักแหลมอะไร เขาเสียเองอีกที่เป็นช้างเท้าหน้า คอยนำให้ฝ่ายหญิงคิดอ่านในเรื่องต่างๆ แต่เมื่อตอนเป็นผีกลับมานี้ ทำไมถึงได้ฉลาดไหวพริบทุกสิ่งทุกอย่าง พูดบ่ายเบี่ยงแก้ตัวไปอย่างไร ผีก็รู้ทันเขาหมด แม้วันใดเขาได้ไปติดต่อทำอะไรพูดอะไร ซื้ออะไรให้หญิงคนรัก ซึ่งเขาเชื่อว่าไม่มีทางแพร่งพรายให้ใครรู้ ตกกลางคืนผีก็ล่วงรู้เก็บเอามาต่อว่าได้ละเอียดลออ บอกได้ถูกต้องทุกสิ่งไป เป็นอย่างนี้ คืนแล้วคีนเล่า เชาเลยไม่ได้กินไม่ได้นอน ร่างกายซูบผอม เศร้าสอย แม้กลางคืนจะมีคนมานอนเป็นเพื่อนหลายๆคน ก็มิอาจช่วยให้เข้าพ้นจากผีภรรยาเก่าของเขาได้ เขามีแต่จะทรุดโทรมทั้งทางกายทางใจ
จึงได้ไปปรึกษาเรื่องนี้กับพระเซน องค์หนึ่งที่พำนักอยู่ ชายผู้น่าสงสารคนนั้น ทีแรกก็อิดออดละอายที่จะนำเรื่องอย่างนี้ไปเล่าให้พระท่านฟัง ชั้งใจรวนเรอยู่นาน ในที่สุดตนเองจะพาลตายเอาจริงๆ ยอมเขาไปการเรียนให้หลวงพ่อทราบทุกสิ่งทุกอย่างโดยละเอียด เผื่อท่านจะช่วยได้
ท่านอาจารย์นั่งนิ่ง รับฟังเรื่องราวทั้งหลายด้วยความกรุณา…