ยังมีพ่อค้าของเก่าจอมเจ้าเล่ห์รายหนึ่ง เดินทางผ่านมายังอารามเซน ขณะมองเข้าไปในอาราม บังเอิญพบเห็นโต๊ะโบราณซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นของที่เคยใช้ภายในราชสำนัก ตัวหนึ่งตั้งอยู่ด้านใน
โต๊ะตัวนี้งดงามยิ่ง ทำจากไม้หายากลวดลายแกะสลักวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะมองในแง่คุณค่าทางศิลปะ หรือมูลค่าแท้จริงก็ล้วนจัดว่าโต๊ะตัวนี้คือของล้ำค่า เมื่อเห็นดังนั้นพ่อค้าจึงตาลุกวาว คิดแผนการณ์ว่าทำอย่างไรจึงจะได้โต๊ะมาในราคาที่คุ้มทุนที่สุด
ขณะนั้น เป็นเวลาพอดีกันกับที่เณรน้อยรูปหนึ่ง ต้องนำโต๊ะตัวดังกล่าวออกมารับแสงแดด และเช็ดถูทำความสะอาด พ่อค้าจึงได้จังหวะเข้าไปพูดคุยกับเณรว่า "โต๊ะตัวนี้เป็นโต๊ะที่งดงามยิ่ง" เณรน้อยมิตอบคำ ตั้งหน้าตั้งตาเช็ดโต๊ะต่อไป
พ่อค้าจึงกล่าวอีกว่า "แม้ว่าจะสวยงาม แต่น่าเสียดายที่มันเป็นของปลอม เพราะของจริงนั้นตั้งอยู่ที่บ้านของข้าเอง" เณรน้อยยังคงมิใส่ใจ
พ่อค้าไม่ละความพยายามกล่าวต่อไปอีกว่า "น่าเสียดาย เมื่อตอนที่ข้าย้ายบ้าน ไม่ทันระวังทำขาโต๊ะโบราณของข้าหักไป 2 ข้าง อยากถามท่านเณรว่าสามารถขายโต๊ะตัวนี้ให้กับข้าในราคา 1 พันตำลึงได้หรือไม่? "
ครานี้เณรจึงเอ่ยปากออกมาว่า "ในเมื่อท่านบอกว่าโต๊ะตัวนี้เป็นของปลอม เช่นนั้นท่านจะซื้อไปทำไมหรือ?"
พ่อค้ารีบตอบว่า "ข้าคิดว่าจะนำขาของโต๊ะของปลอมตัวนี้ไปซ่อมขาโต๊ะที่เป็นของแท้ที่บ้านของข้า ทำเช่นนี้ท่านเณรก็ได้ประโยชน์สามารถนำเงินไปซื้อโต๊ะของแท้ตัวใหม่ ส่วนข้าก็ได้ซ่อมแซมโต๊ะโบราณอันเป็นสมบัติดั้งเดิมของตระกูลได้สำเร็จ"
เณรนิ่งคิดครู่หนึ่ง จึงตอบตกลงตามข้อเสนอของพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์
พ่อค้าเห็นดังนั้น ก็พยายามกดข่มความลิงโลดใจไม่ให้ออกนอกหน้า ขณะที่ในใจดีดลูกคิดรางแก้วคำนวณราคาของโต๊ะไว้เสร็จสรรพว่าหากนำโต๊ะที่ได้จากอารามเซนตัวนี้ไปขาย คงได้ราคาไม่ต่ำกว่าสิบหมื่นตำลึง
ขณะเดียวกับก็ลอบตำหนิตนเองที่เสนอราคาให้เณรไปถึง 1 พันตำลึง จากนั้นพ่อค้าหัวใส จึงออกปากให้เณรช่วยยกโต๊ะออกไปรอไว้นอกอาราม ส่วนตนเองออกไปหาเสาะรถมาขนย้ายโต๊ะ ด้วยความอิ่มอกอิ่มใจที่ทำการค้าสำเร็จ
เวลาผ่านไป…
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าขาด ท่าทางเฉื่อยชา เอาแต่นั่งทอดหุ่ยปล่อยให้แสงแดดโลมเลียร่างกาย สลับกับหาวหวอดๆ เป็นระยะ
เมื่ออาจารย์เซนเดินผ่านมาพบคนผู้นี้เข้า จึงเกิดความประหลาดใจจนต้องเอ่ยถามว่า "พ่อหนุ่ม อากาศดีๆ ในฤดูกาลที่นานๆ จะเวียนมาถึงเช่นนี้ เหตุใดเอาแต่มานั่งเปล่าประโยชน์ ใยไม่ไปลงมือทำสิ่งที่ต่างๆ ควรทำ เจ้าไม่เสียดายช่วงเวลาดีๆ เช่นนี้หรอกหรือ?"
ชายหนุ่มถอนใจครั้งหนึ่ง พลางตอบว่า "บนโลกใบนี้ นอกจากร่างกายแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าสักอย่าง เช่นนั้นใยต้องสิ้นเปลืองแรงกายแรงใจไปกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยเล่า?"
"เจ้าไม่มีบ้านหรือ?" อาจารย์เซนถาม "ไม่มี หากมีบ้านก็ต้องเป็นภาระคอยดูแล เช่นนั้นไม่ต้องมีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มตอบ
"เจ้าไม่มีคนที่เจ้ารักหรือ?" อาจารย์เซนถามต่อ "ไม่มี หากมีคนรัก เมื่อหมดรักก็กลายเป็นความเกลียดชัง สู้ไม่มีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มว่า
"แล้วมิตรสหายเล่า มีหรือไม่?" อาจารย์เซนไม่ละความพยายาม "ไม่มี เมื่อมีเพื่อน สักวันก็ต้องสูญเสียเพื่อน แล้วจะมีไปทำไม" ชายหนุ่มท้วง
"เจ้าไม่คิดจะทำงานหาเงินบ้างหรือ?" อาจารย์เซนยังคงถามต่อไป "ไม่คิด ได้เงินมาสุดท้ายก็ต้องจับจ่ายออกไป เช่นนั้นใยต้องไปสิ้นเปลืองพลังงานหามาตั้งแต่ต้น" ชายหนุ่มกล่าวแย้ง
"อ้อ" สุดท้ายอาจารย์เซนพยักหน้ารับรู้ แต่ยังคงกล่าวว่า "ท่าทางข้าต้องรีบไปหาเชือกมามอบให้เจ้าสักเส้นหนึ่งแล้ว"
"เหตุใดต้องมอบเชือกให้ข้า?"…
ยังมีสาวสะคราญนางหนึ่ง เป็นผู้มีความเพียบพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ฐานะตระกูลสูงส่ง เหนือกว่าผู้อื่นในทุกๆ ด้าน ซึ่งนางเองก็ทราบข้อนี้ดี แต่กลับไร้ซึ่งความสุข
แม้อยากหาใครปรับทุกข์ด้วยก็มิมีแม้สักคนเดียว ดังนั้นนางจึงไปกราบนมัสการอาจารย์เซนอู๋เต๋อ และถามว่าทำอย่างไรนางจึงจะเพิ่มพูนเสน่ห์ในตนเอง เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น
อาจารย์เซนอู๋เต๋อบอกกับนางว่า "ไม่ยาก ต่อจากนี้ไปหากสีกามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใดก็ตาม จงเป็นไปด้วยจิตเมตตา พูดคำเซน ฟังเสียงเซน ปฏิบัติกิจของเซน มีจิตแห่งเซน เช่นนี้สีกาจะกลายเป็นผู้เปี่ยมด้วนเสน่ห์"
เมื่อหญิงสาวนางนี้ได้ฟังคำแนะนำ ก็เอ่ยถามว่า "คำเซน เป็นเช่นใดเล่าท่านอาจารย์?"
อาจารย์เซนอธิบายว่า "คำเซน คือคำพูดในเรื่องดีงาม พูดความจริง พูดอย่างอ่อนน้อม พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์"
หญิงสาวยังคงถามต่อไป "แล้วเสียงเซน คือเช่นไร?"
อาจารย์เซนอู๋เต๋อกล่าวต่อไปว่า "เสียงเซน คือการฟังเสียงทุกอย่างให้ลึกซึ้ง ทำเสียงก่นด่าให้เป็นเสียงแห่งความเมตตา ทำเสียงคำพูดให้ร้ายให้เป็นคำชื่นชม หากสีกาฟังเสียงร้องไห้ เสียงคำพูดบิดเบือน เสียงหยาบคาย โดยไม่ถือสา นั่นคือเสียงแห่งเซน"
"ถ้าเช่นนั้น กิจของเซน เล่า เป็นอย่างไร?" หญิงสาวยังคงซักต่อ "การให้ทานคือกิจของเซน ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความมีเมตตา ทำประโยชน์ให้สาธารณะ ล้วนเป็นกิจของเซน"…
ครั้งที่อาจารย์เซนเฉิงจัว (Seisetsu Shucho) จาริกธรรมยังวัดหงฝ่า (弘法寺) มณฑลเจ้อเจียง จนได้รับความเคารพศรัทธายิ่งนัก
ทุกครั้งที่มีการแสดงธรรมเทศนา ล้วนมีผู้คนมารอฟังอย่างเนืองแน่นจนกลายเป็นแออัด
จึงมีผู้เสนอให้ร่วมกันบริจาคเงิน เพื่อสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้มีศรัทธา ในพุทธศาสนานิกายเซนจำนวนมากให้ได้มาร่วมกันฟังธรรม
เมื่อเห็นตรงกัน อุบาสกผู้หนึ่งจึงนำถุงบรรจุเงินห้าสิบตำลึงทองมาถวายให้อาจารย์เซนเฉิงจัว โดยระบุว่าขอร่วมบริจาคเงินสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ อาจารย์เซนเฉิงจัวจึงรับเงินมาเก็บไว้ จากนั้นลงมือทำกิจวัตรประจำวันต่อไปตามปกติ
อุบาสกผู้บริจาคเงินก้อนใหญ่เห็นดังนั้น รู้สึกไม่สบอารมณ์อย่างยิ่ง เนื่องเพราะเขาเห็นว่าเงินห้าสิบตำลึงทองจัดว่ามากโข คนธรรมดาสามัญสามารถใช้เงินจำนวนนี้ดำรงชีวิตได้หลายปีทีเดียว
ทว่าอาจารย์เซนกลับรับเงินไปด้วยท่าทางเฉยเมย ไม่มีการให้ศีลให้พร แม้แต่คำว่า "ขอบคุณ" สักคำยังไม่ยอมเอ่ย เมื่อคิดได้ดังนั้น อุบาสถผู้นี้จึงเดินไปเน้นย้ำต่ออาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ข้านำเงินมามอบให้ถึงห้าสิบตำลึงทองเชียวนะ"
อาจารย์เซนเฉิงจัวได้ยินดังนั้น ก็ตอบกลับด้วยอาการสงบว่า "อาตมาทราบดี เพราะท่านบอกอาตมาแล้ว"
จากนั้นจึงเดินต่อไปโดยไม่เหลือบแลกลับมาอีก อุบาสกเห็นดังนั้นจึงขึ้นเสียงสูง ร้องว่า
"นี่ท่าน! วันนี้ข้ามอบเงินทำบุญถึงห้าสิบตำลึงทอง ไม่ใช่เงินน้อยๆ หรือว่าแค่คำขอบคุณสักคำ ท่านก็กล่าวเพื่อตอบแทนข้าไม่ได้เชียวหรือ?"
ยามนั้น อาจารย์เซนจึงได้หยุดและกล่าวว่า "ท่านทำบุญเพื่อเพิ่มพูนศีลธรรมบารมีให้ตัวท่านเอง แล้วเหตุใดอาตมาต้องขอบคุณท่านด้วยเล่า"
การทำบุญย่อมได้บุญ จิตผ่องใสนั่นเป็นบุญ
เหล่าศิษย์ถามอาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ?"
อาจารย์เซนตอบว่า "วันนี้พวกเจ้าจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด และง่ายดายที่สุด นั่นคือให้ทุกๆ คน แกว่งมือไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด จากนั้นแกว่งกลับไปด้านหลังให้ไกลที่สุด" กล่าวจบจึงปฏิบัติให้เหล่าศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง 1 รอบ จากนั้นกล่าวต่อไปว่า "นับตั้งแต่วันนี้ พวกเจ้าจงทำเช่นนี้ติดต่อกันวันละ 300 ครั้ง ทุกๆ วัน ทุกคนสามารถทำได้หรือไม่?"
บรรดาศิษย์เซน พากันสงสัย เอ่ยถามว่า "พวกเราต้องทำเช่นนี้ไปเพื่ออะไร?"
อาจารย์เซนชี้แจงว่า "หากพวกเจ้าสามารถปฏิบัติได้สำเร็จ อีก 1 ปีให้หลังพวกเจ้าจะทราบถึงหนทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ"
เหล่าศิษย์ล้วนคิดตรงกันว่า "เรื่องง่ายๆ เช่นนี้ ใครๆ ก็ย่อมทำได้" จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติ
เวลาผ่านไป 1 เดือน อาจารย์เซนถามเหล่าศิษย์ว่า "การแกว่งแขนที่ข้าให้พวกเจ้าปฏิบัติ มีใครยังทำต่อเนื่องอยู่บ้าง?" ศิษย์เซนส่วนใหญ่ต่างตอบด้วยความภาคภูมิใจว่า ยังปฏิอยู่ อาจารย์เซนจึงผงกศีรษะด้วยความพอใจ พลางกล่าวว่า "ดีมาก"
เวลาผ่านไปอีกเดือนหนึ่ง อาจารย์เซนเอ่ยถามอีกครั้งว่า "ยังมีกี่คนที่แกว่งแขนอยู่?" ปรากฏว่ามีศิษย์เซนประมาณครึ่งหนึ่งที่ยังคงปฏิบัติอยู่ ส่วนที่เหลือกว่าครึ่ง ล้วนถอดใจล้มเลิกไปแล้ว
เมื่อครบเวลา 1…
สานุศิษย์ผู้หนึ่งเอ่ยถามอาจารย์เซนอู๋เต๋อว่า “ท่านอาจารย์ คนเรามีหัวใจดวงเดียว เหตุใดบางครั้งจึงใจกว้าง บางครั้งจึงใจแคบ?”
อาจารย์ เซนมิได้ตอบคำถามข้อนี้ แต่กลับบอกกับสานุศิษย์ว่า “ตอนนี้เจ้าจงหลับตาลง แล้วสร้างภาพกำแพงเมืองแห่งหนึ่งขึ้นมาในใจของเจ้า”
สานุศิษย์ผู้นั้นหลับตาลงและปฏิบัติตามคำของอาจารย์เซน จากนั้นสักครู่จึงกล่าวว่า “กำแพงเมืองสร้างเสร็จแล้ว”
อาจารย์ เซนจึงบอกว่า “เช่นนั้น เจ้าจงหลับตาต่อไป คราวนี้สร้างภาพเส้นขนเส้นหนึ่งขึ้นในใจ” สานุศิษย์ทำตามคำของอาจารย์ เวลาผ่านไปไม่นาน จึงกล่าวว่า “เส้นขนสำเร็จแล้ว”
จากนั้นอาจารย์เซนจึงให้สานุศิษย์ลืมตา ทั้งยังเอ่ยถามว่า “ยามที่เจ้าสร้างกำแพงเมืองขึ้นมาในใจ เจ้าใช้ใจของเจ้าสร้างมันเพียงคนเดียว หรือใช้ใจของผู้อื่นมาร่วมสร้างด้วย?”
“ใช้ใจของข้าเพียงคนเดียว” สานุศิษย์ตอบ
“แล้วตอนที่เจ้าสร้างเส้นขนขึ้นมาในใจเล่า เจ้าใช้เพียงเสี้ยวหนึ่งของใจ หรือว่าใช้ทั้งหมดของใจในการสร้างมันขึ้นมา?”
สานุศิษย์ตอบว่า “ใช้ทั้งหมดของใจ”
ยามนี้อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า “เจ้าสร้างกำแพงเมืองทั้งหลังก็ใช้ใจเพียงดวงเดียว หรือจะสร้างขนแค่เส้นเดียวก็ต้องใช้ใจดวงนี้ดวงเดียวเช่นกัน แสดงว่าใจเพียงหนึ่งใจนั้นสามารถใหญ่ได้ เล็กได้ แคบได้ กว้างได้ ขึ้นอยู่กับเจ้าว่าจะเลือกให้มันเป็นเช่นไร”
ในประเทศญี่ปุ่น มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกเร ติดเหล้า ติดการพนัน แม่ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนปัญญาจะทำให้กลับตัวเป็นคนดีได้หลวงลุงซึ่งบวชเป็นพระเซนอยู่ทราบเรื่อง รีบเดินทางกลับมายังบ้านน้องสาวและพำนักที่บ้านหลังนั้นหนึ่งคืนเช้ามาขณะกำลังจะเดินทางกลับ หลวงลุงหารองเท้ามาสวมด้วยกิริยางกๆ เงิ่นๆ เจ้าหนุ่มที่เพิ่งฟื้นจากอาการเมาแอ๋กลับจากบ่อนเมื่อใกล้รุ่งเห็นเข้า เขาจึงกุลีกุจอเข้าไปช่วยผูกเชือกรองเท้า หลวงลุงยืดตัวขึ้นพลางลูบหัวพร้อมกล่าวว่า “หลานเอ๊ย ! หลวงลุงต้องขอโทษด้วยที่รบกวนเธอ ดูเอาเถอะ คนเราวันหนึ่งก็ต้องแก่เหมือนหลวงลุงนี่แหละ พอแก่แล้วทำอะไรก็ไม่สะดวก หูตาฝ้าฟางลงทุกที นี่แค่ผูกเชือกรองเท้ายังต้องพึ่งคนอื่นเลย หลวงลุงขอโทษเธอจริงๆนะ เฮ้อ! ไม่น่าเกิดมาสร้างภาระให้ใครเลย”ไม่พูดเปล่า น้ำตาหลวงลุงร่วงพรูลงบนหลังมือเจ้าหลานชาย นาทีนั้นเอง ชายหนุ่มเริ่มรู้สึกว่าเขาทอดทิ้งหลวงลุงมาเป็นเวลานานแล้วใจก็เชื่อมโยงถึงผู้เป็นแม่ ซึ่งต้องคอยเป็นห่วงเป็นใยเขาวันแล้ววันเล่า โอ... เขากลายเป็นภาระของแม่ไปตั้งแต่เมื่อไหร่กัน หยาดน้ำตาบนหลังมือพลันให้เขาเกิดสามัญสำนึกถึงความไม่ได้เรื่องของตน จึงบอกว่า “หลวงลุงครับ ผมต่างหากที่ต้องขอโทษ ผมละเลยทั้งแม่และหลวงลุงมาโดยตลอด จากนี้ไปผมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ขอหลวงลุงให้อภัยผมด้วย”จากนั้นเป็นต้นมา แม่ก็ได้ลูกชายคนใหม่มาด้วยกุศโลบายในการทำให้หลานชายรู้สึกสำนึกผิดจากหลวงลุงของเขานั่นเองการให้อภัยจึงไม่ใช่การบอกว่า “ฉันยกโทษให้เธอ” แล้วจบกัน หากแต่ต้องมาจากการที่ คนทำผิดเกิดจิตสำนึกขึ้นมาอย่างถ่องแท้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นผิด แล้วอยากเริ่มต้นใหม่ อยากแก้ไขตัวเอง หากดำเนินไปในลักษณะนี้ จึงจะเป็นการให้อภัยในความหมายที่แท้
หลวงพ่อตันซัน เป็นพระเซ็นที่มีความแตกฉานมาก ท่านมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 100 ปีมานี่เอง ท่านเป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลในโตเกียวด้วย
วันหนึ่ง ท่านได้ชวนท่านเอกิโด เพื่อนพระภิกษุซึ่งเคร่งครัดหยุมหยิมในระเบียบแบบแผนต่างๆ ออกเดินธุดงค์ ระหว่างทาง พอมาถึงที่ต่ำเป็นแอ่งมีโคลนเฉอะแฉะ จะเดินอ้อมก็ไม่ได้ ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งตัวเสียสวยงาม กำลังเก้ๆ กังๆ พยายามจะเดินข้ามตรงที่แฉะ แต่ไม่กล้า เพราะกลัวเครื่องแต่งกายที่งดงามจะเปรอะเปื้อน ก่อนที่ท่านเอกิโดจะแปลกใจที่มีหญิงสาวแต่งตัวเสียสวยงามมาเดินอยู่ในป่าคนเดียว ก็ต้องตกตะลึง เพราะเห็นท่านตันซันก้าวเดินสวบๆ เข้าไปหาหญิงผู้นั้น แล้วช้อนร่างอุ้มเดินข้ามแอ่งโคลนไป พอพ้นก็วางลงเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งสองเดินทางต่อไปโดยไม่ได้ปริปากพูดจากัน
จนกระทั่งถึงเวลาหยุดพักค่ำวันนั้น เมื่อจัดเตรียมที่พักแล้ว ท่านเอกิโดก็หลุดปากออกมาอย่างกลั้นใจจะไม่พูดไม่ไหว เป็นเชิงสั่งสอนท่านตันซัน ว่า
"พวกเราเป็นพระ น่าจะไม่เข้าใกล้ผู้หญิงจะดีกว่า ยิ่งแตะเนื้อต้องตัวด้วยแล้วยิ่งไม่ถูกต้อง ทำไมท่านถึงทำอย่างนั้น?"
"ผมวางเด็กสาวคนนั้นลงไปตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ท่านยังจะมาแบกเอาไว้จนถึงเดี๋ยวนี้อยู่อีกหรือ" หลวงพ่อตันซันโปรดเพื่อนท่าน
โดนย้อนเพียงเท่านี้ ท่านเอกิโดก็สว่างโพลงขึ้นทันที ตัวท่านก้าวพ้นตมมาเมื่อเช้านี้ แต่จิตของท่านเพิ่งจะมาข้ามพ้นในขณะนั้นนั่นเอง
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่ง ไปปรึกษาอาจารย์เซนถึงวิถีแห่งเซนที่เขายังมีอาจข้ามผ่าน โดยเอ่ยถึงปัญหาของตนเองว่า "ท่านอาจารย์ จะทำอย่างไรดี กระผมมิอาจปล่อยวางเรื่องบางเรื่อง มิอาจปล่อยวางจากคนบางคน?"
อาจารย์เซนตอบว่า "ทุกสิ่งล้วนสามารถปล่อยวาง"
อุบาสกแย้งว่า "ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ยังคงมีสิ่งที่กระผมปล่อยวางไม้ได้"
อาจารย์เซนจึงบอกให้อุบาสกผู้นี้ถือถ้วยชาใบหนึ่งไว้ในมือ จากนั้นอาจารย์เซนจึงรินน้ำชาร้อนๆ ลงไปในถ้วย รินลงไปจนน้ำชาล้นถ้วยออกมารดมือของอุบาสกที่ถืออยู่ เมื่อโดนน้ำชาร้อนลวกมือ อุบาสกจึงต้องปล่อยถ้วยชาลงพื้น
ยามนั้นอาจารย์เซนจึงสอนว่า "ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจละวางได้ เมื่อเกิดทุกข์ ย่อมยอมปล่อยวางโดยธรรมชาติ"
ปัญญาเซน : ละวางได้จึงไร้ทุกข์
ยังมีพระเซนรูปหนึ่ง นามว่า
“ต้าเหนียน” สนใจการแกะสลักพระพุทธรูปเป็นอย่างยิ่ง ทว่าติดขัดที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยชี้แนะ รูปสลักพระพุทธรูปที่ทำออกมา จึงล้วนขาดตกบกพร่อง ไม่เป็นที่พอใจ
สุดท้ายจึงตัดสินใจออกเดินทางไปกราบขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซนอู๋เต๋อ เพื่อหวังว่า อาจารย์เซนอู่เต๋อจะถ่ายทอดเคล็ดลับการแกะสลักพระพุทธรูปที่ถูกต้องให้
อาจารย์เซนอู๋เต๋อตอบตกลง หลังจากนั้นทุกๆ เช้า พระเซนรูปนี้ต้องไปกราบอาจารย์ที่หอธรรม โดยอาจารย์เซนอู๋เต๋อเพียงแต่ยื่นหินอัญมณีใส่มือให้เขา และสั่งให้กำเอาไว้ให้แน่น จากนั้น จึงสนทนาถึงเรื่องทั่วๆไป เนื้อหาการสนทนาครอบคลุมทุกเรื่อง เว้นเพียงเรื่องการแกะสลักพระพุทธรูปเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้นอาจารย์เซนยังไม่เคยอธิบายว่า เหตุใดพระเซนต้าเหนียนจึงต้องกำหินอัญมณีเอาไว้ตลอดเวลา
เวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพระเซนต้าเหนียน เริ่มเกิดความเบื่อหน่าย ทว่าไม่กล้าเอ่ยปาก
กระทั่งวันหนึ่ง อาจารย์เซนอู๋เต๋อยื่นหินให้พระเซนต้าเหนียน เหมือนเช่นทุกๆ วัน จากนั้นก็ตระเตรียมสนทนา ทว่าเมื่อกำหิน ไว้ในมือชั่วครู่ พระเซนต้าเหนียนก็รู้สึกไม่ถูกต้อง จึงเอ่ยกับอาจารย์ว่า
“ช้าก่อน ท่านอาจารย์ หินที่ท่านให้ศิษย์วันนี้ไม่ใช่อัญมณี”
อาจารย์เซนจึงเอ่ยถามว่า “หากไม่ใช่ แล้วคืออะไร?”
ต้าเหนียนจึงตอบว่า “เป็นเพียงก้อนหินธรรมดาๆ ก้อนหนึ่ง”
โดยมิคาด ยามนี้อาจารย์เซนกลับกล่าวว่า “ถูกต้อง การแกะ สลักต้องอาศัยมือกับจิตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เจ้ารู้สึกถึงความ ต่างของหินที่อาจารย์ยื่นให้ เนื่องเพราะมีจิตจดจ่ออยู่ ณ ที่นั้น บัดนี้เจ้าผ่านบทเรียนบทแรกของการแกะสลักพระพุทธรูปแล้ว”
ปัญญาเซน…