Skip to content Skip to footer

นิทานเซน

ตรรกะแห่งความเปล่าประโยชน์

มีชายหนุ่มผู้หนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าขาด ท่าทางเฉื่อยชา เอาแต่นั่งทอดหุ่ยปล่อยให้แสงแดดโลมเลียร่างกาย สลับกับหาวหวอดๆ เป็นระยะ เมื่ออาจารย์เซนเดินผ่านมาพบคนผู้นี้เข้า จึงเกิดความประหลาดใจจนต้องเอ่ยถามว่า "พ่อหนุ่ม อากาศดีๆ ในฤดูกาลที่นานๆ จะเวียนมาถึงเช่นนี้ เหตุใดเอาแต่มานั่งเปล่าประโยชน์ ใยไม่ไปลงมือทำสิ่งที่ต่างๆ ควรทำ เจ้าไม่เสียดายช่วงเวลาดีๆ เช่นนี้หรอกหรือ?" ชายหนุ่มถอนใจครั้งหนึ่ง พลางตอบว่า "บนโลกใบนี้ นอกจากร่างกายแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าสักอย่าง เช่นนั้นใยต้องสิ้นเปลืองแรงกายแรงใจไปกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยเล่า?" "เจ้าไม่มีบ้านหรือ?" อาจารย์เซนถาม "ไม่มี หากมีบ้านก็ต้องเป็นภาระคอยดูแล เช่นนั้นไม่ต้องมีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มตอบ "เจ้าไม่มีคนที่เจ้ารักหรือ?" อาจารย์เซนถามต่อ "ไม่มี หากมีคนรัก เมื่อหมดรักก็กลายเป็นความเกลียดชัง สู้ไม่มีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มว่า "แล้วมิตรสหายเล่า มีหรือไม่?" อาจารย์เซนไม่ละความพยายาม "ไม่มี เมื่อมีเพื่อน สักวันก็ต้องสูญเสียเพื่อน แล้วจะมีไปทำไม" ชายหนุ่มท้วง "เจ้าไม่คิดจะทำงานหาเงินบ้างหรือ?" อาจารย์เซนยังคงถามต่อไป "ไม่คิด ได้เงินมาสุดท้ายก็ต้องจับจ่ายออกไป เช่นนั้นใยต้องไปสิ้นเปลืองพลังงานหามาตั้งแต่ต้น" ชายหนุ่มกล่าวแย้ง "อ้อ" สุดท้ายอาจารย์เซนพยักหน้ารับรู้ แต่ยังคงกล่าวว่า "ท่าทางข้าต้องรีบไปหาเชือกมามอบให้เจ้าสักเส้นหนึ่งแล้ว" "เหตุใดต้องมอบเชือกให้ข้า?"…

Read more

พระผู้เฒ่ากับคนแบกของ

พระเซนชรารูปหนึ่งในประเทศจีนซึ่งปฏิบัติภาวนาอยู่นานหลายปี ท่านมีจิตดีและกลายเป็นคนสงบเงียบมาก แต่ก็ยังไม่เคยสัมผัสการสิ้นสุดแห่ง "ฉัน" และ "ผู้อื่น" ภายในใจได้อย่างแท้จริง ท่านไม่เคยบรรลุถึงต้นธารความนิ่งหรือศานติที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไปขออนุญาตอาจารย์ว่า "ผมขอออกไปปฏิบัติบนเทือกเขาได้ไหมครับ ผมถือบวชและฝึกฝนมานานหลายปี ไม่ต้องการอื่นใดนอกจากการเข้าใจธรรมชาติแท้ของตนเองและโลก" อาจารย์รู้ว่าจิตของพระรูปนี้สุกงอมแล้วจึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านออกจากวัดโดยมีบาตรและบริขารเพียงเล็กน้อยติดตัว ระหว่างทางได้เดินผ่านเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ครั้นออกจากหมู่บ้านสุดท้ายก่อนขึ้นเขา ปรากฏว่ามีชายชราคนหนึ่งเดินสวนทางลงมา ชายคนนั้นมีห่อใหญ่มากเป้ติดหลังมาด้วย ชายชราเอ่ยทักพระว่า "สหาย ท่านกำลังจะไปไหนหรือ" พระจึงเล่าเรื่องของตนว่า "เราปฏิบัติมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้สิ่งเดียวที่ต้องการคือการได้สัมผัสจุดศูนย์กลางนั้น คือการรู้สิ่งที่เป็นแก่นแท้แห่งชีวิต บอกเราเถิดผู้เฒ่า ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับความรู้แจ้งนี้บ้างไหม" จังหวะนั้นชายชราเพียงแต่ปลดของที่แบกมาปล่อยให้หล่นลงพื้น แล้วพระก็เข้าใจถึงความจริงแห่งธรรมว่า... "เราต้องรู้จักปล่อยวางความทะเยอทะยานและสิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นภารกิจ ปล่อยวางอดีต อนาคต อัตลักษณ์ ความกลัว ทัศนคติ ความรู้สึกแห่งความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของฉัน" เสียให้สิ้น" มาถึงจุดนี้ พระเพิ่งบรรลุธรรมมองชายชราอย่างสับสนเล็กน้อยว่าควรทำอย่างไรต่อไป ท่านถามว่า "แล้วต่อไปล่ะ" ชายชรายิ้มก่อนก้มลงหยิบห่อของมา เป้ใส่หลังอีกครั้งแล้วเดินเข้าเมืองไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า....การจะวางแอกหนักลงได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรับรู้ทุกอย่างที่แบกอยู่ กล่าวคือ เราต้องเห็นความทุกข์โศกของตนเอง เห็นความยึดมั่นและความเจ็บปวด เห็นความที่เราทั้งหลายต่างก็อยู่ในวังวนนี้ และยอมรับการเกิดและการตาย

Read more

ชีวิตคนเรายืนยาวเท่าใด?

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงถามพระลูกศิษย์ว่า "พวกเจ้าคิดว่าชีวิตของคนเรานั้นยาวนานเท่าใด?" พระรูปหนึ่งตอบอย่างมั่นใจว่า "โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ได้หลายสิบปี" พระพุทธองค์ได้ฟังจึงกล่าวว่า "เจ้ายังไม่เข้าใจ" พระรูปต่อมาตอบว่า "ชีวิตคนเราเป็นดังต้นไม้ใบหญ้า เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึงก็งอกงามสดใส แต่กลับอ่อนแอ สูญสลายในฤดูหนาว" พระพุทธองค์ยิ้มเล็กน้อยพลางกล่าวว่า "เจ้าเข้าใจเพียงเปลือกนอกเท่านั้น" พระรูปที่สามตอบว่า "ศิษย์กลับคิดว่าชีวิตคนเราแสนสั้นคล้ายดั่งแมลง เพิ่งเกิดมาตอนเช้า เมื่อถึงยามค่ำก็สิ้นใจ" พระพุทธองค์กล่าวชมเชยศิษย์ผู้นี้ว่า "นับว่าเจ้าเข้าใจถึงเนื้อในแล้ว" ในตอนนั้นเอง พระอีกรูปหนึ่งก็กล่าวขึ้นมาว่า "อาจารย์ ศิษย์เห็นว่า ชีวิตของคนเรามีเพียงลมหายใจเข้า-ออก สั้นเพียงเท่านั้นเอง" ยามนี้พระพุทธองค์จึงแย้มยิ้มพลางกล่าวว่า "ชีวิตคนเราแสนสั้น เพียงหนึ่งลมหายใจเข้า หนึ่งลมหายใจออก มีเพียงเท่านี้ วันนี้นับว่าเจ้าเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นของธรรมแล้ว" ปัญญาเซน : ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง อย่าประมาทหลงอยู่ในความสุขลวงตา จงหมั่นเจริญสติระลึกถึงความตายอยู่เสมอ

Read more

ยกขึ้นวางลง

อุบาสกผู้หนึ่ง เดินทางมากราบอาจารย์เซนเจ้าโจว ทว่ามิได้นำของติดไม้ติดมือมาคารวะจึงเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เมื่อมาถึงได้กล่าวออกตัวว่า "ขออภัยพระอาจารย์ที่กระผมมามือเปล่า" อาจารย์เซนเจ้าโจวมองอุบาสกผู้นั้น พลางกล่าวว่า "ในเมื่อมามือเปล่า ก็จงวางลงเถิด" อุบาสกได้ฟังก็งุนงงสงสัย เอ่ยปากว่า "ท่านอาจารย์ กระผมบอกแล้วว่ามิได้นำอะไรติดตัวมา แล้วท่านจะให้วางสิ่งใดกันเล่า?" อาจารย์เซนเจ้าโจวจึงบอกว่า "ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็จงถือมันกลับไปด้วยเถิด" อุบาสกยังคงไม่เข้าใจความนัย ถามว่า "กระผมไม่ได้เอาอะไรมา แล้วจะให้ถืออะไรกลับไป?" อาจารย์เซนเจ้าโจวตอบว่า "เจ้าก็จงนำสิ่งที่เจ้าเรียกว่า 'ไม่มีอะไร' นั้นกลับไปอย่างไรล่ะ" อุบาสกยิ่งฟังยิ่งไม่เข้าใจ ได้แต่เอ่ยพึมพำกับตัวเองว่า "เมื่อไม่มีอะไรแล้วจะถือได้อย่างไร?" ยามนี้ อาจารย์เซนเจ้าโจวจึงเพียงผงกศีรษะเล็กน้อยเท่านั้น ปัญญาเซน : เมื่อปล่อยวางจึงหลุดพ้น

Read more

ตรรกะในการใช้ชีวิต

มีชายหนุ่มผู้หนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าขาด ท่าทางเฉื่อยชา เอาแต่นั่งทอดหุ่ยปล่อยให้แสงแดดโลมเลียร่างกาย สลับกับหาวหวอดๆ เป็นระยะ เมื่ออาจารย์เซนเดินผ่านมาพบคนผู้นี้เข้า จึงเกิดความประหลาดใจจนต้องเอ่ยถามว่า "พ่อหนุ่ม อากาศดีๆในฤดูกาลที่นานๆจะเวียนมาถึงเช่นนี้ เหตุใดเอาแต่มานั่งเปล่าประโยชน์ ใยไม่ไปลงมือทำสิ่งที่ต่างๆ ควรทำ เจ้าไม่เสียดายช่วงเวลาดีๆ เช่นนี้หรอกหรือ?" ชายหนุ่มถอนใจครั้งหนึ่ง พลางตอบว่า "บนโลกใบนี้ นอกจากร่างกายแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าสักอย่าง เช่นนั้นใยต้องสิ้นเปลืองแรงกายแรงใจไปกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยเล่า?" "เจ้าไม่มีบ้านหรือ?" อาจารย์เซนถาม "ไม่มี หากมีบ้านก็ต้องเป็นภาระคอยดูแล เช่นนั้นไม่ต้องมีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มตอบ "เจ้าไม่มีคนที่เจ้ารักหรือ?" อาจารย์เซนถามต่อ "ไม่มี หากมีคนรัก เมื่อหมดรักก็กลายเป็นความเกลียดชัง สู้ไม่มีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มว่า "แล้วมิตรสหายเล่า มีหรือไม่?" อาจารย์เซนไม่ละความพยายาม "ไม่มี เมื่อมีเพื่อน สักวันก็ต้องสูญเสียเพื่อน แล้วจะมีไปทำไม" ชายหนุ่มท้วง "เจ้าไม่คิดจะทำงานหาเงินบ้างหรือ?" อาจารย์เซนยังคงถามต่อไป "ไม่คิด ได้เงินมาสุดท้ายก็ต้องจับจ่ายออกไป เช่นนั้นใยต้องไปสิ้นเปลืองพลังงานหามาตั้งแต่ต้น" ชายหนุ่มกล่าวแย้ง "อ้อ" สุดท้ายอาจารย์เซนพยักหน้ารับรู้ แต่ยังคงกล่าวว่า "ท่าทางข้าต้องรีบไปหาเชือกมามอบให้เจ้าสักเส้นหนึ่งแล้ว" "เหตุใดต้องมอบเชือกให้ข้า?" ชายหนุ่มถามด้วยความสงสัย "ให้เจ้าผูกคอตาย" อาจารย์เซนตอบ ชายหนุ่มได้ยินก็ถามกลับไปด้วยความโมโหว่า "ท่านอยากให้ข้าตายหรือไง?" อาจารย์เซนจึงตอบว่า "ถูกแล้ว เพราะคนเราทุกคนล้วนต้องตาย หากคิดตามตรรกกะของเจ้า ในเมื่อสุดท้ายต้องตายแล้วคนเราจะเกิดมาทำไม และหากเป็นเช่นนั้นก็แปลว่า การมีชีวิตมีตัวตนของเจ้าในวันนี้นับเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์ด้วยเช่นกัน ก็ในเมื่อเปล่าประโยชน์แล้ว ใยไม่รีบผูกคอตายไปเสียเลยเล่า?"

Read more

สรรพสิ่งมีเหตุจึงมีผล

มีคหบดีผู้หนึ่ง ประสบปัญหาในอาชีพการงานอย่างหนัก เนื่องจากกิจการค้าขายของเขา ยิ่งทำไปก็มีแต่ซบเซาลงทุกวันๆ เขาขบคิดไม่เข้าใจว่า เป็นเพราะเหตุใด ดังนั้น จึงเดินทางขึ้นเขาไปขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซน เมื่ออาจารย์เซนได้ฟังปัญหาของคหบดี ก็กล่าวกับเขาว่า "ก่อนที่ข้าจะตอบคำถามของท่าน ที่ลานหลังวัดมีคันโยกน้ำบาดาลอยู่อันหนึ่ง ท่านจงไปโยกน้ำมาให้ข้า 1 ถัง" คหบดีรับคำ และรีบออกไปโยกน้ำบาดาล ผ่านไปครึ่งวัน คหบดีจึงเข้ามาพร้อมเหงื่อชุ่มโชกตัว พลางกล่าวว่า "เครื่องโยกน้ำไม่สามารถโยกสูบน้ำขึ้นมาได้" อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า "เช่นนั้นท่านจงลงเขาไปซื้อน้ำมาถังหนึ่ง" คหบดีจึงเดินทางลงเขาไปซื้อน้ำ เมื่อคหบดีแบกน้ำขึ้นมาที่วัด กลับมีน้ำอยู่เพียงครึ่งถังมิใช่หนึ่งถัง โดยคหบดีอธิบายว่า ที่นำน้ำขึ้นมาเพียงครึ่งถัง ไม่ใช่เพราะเขาเกรงจะหมดเปลืองเงิน แต่เป็นเพราะเส้นทางขึ้นเขาลำบาก จึงคิดว่าไม่อาจจะนำน้ำขึ้นมาเต็มถังได้ เมื่ออาจารย์เซนได้ฟังเหตุผล ก็ยังคงยืนยันให้เขากลับลงเขา ไปหาบน้ำเต็มถังกลับมาก่อน จึงจะเข้าใจว่าเหตุใดกิจการของเขาจึงมีแต่เจริญลง คหบดีแม้รู้สึกแปลกใจ แต่สุดท้ายก็ยอมลงเขาไปอีกรอบ คราวนี้เขาพยายามแบกน้ำเต็มถังอีกหนึ่งถัง ขึ้นมาที่วัดบนเขาได้สำเร็จ จากนั้นอาจารย์เซนจึงนำคหบดีไปยังคันโยกน้ำบาดาลหลังวัดอีกครั้ง ทั้งยังให้เขาลองเทน้ำลงไปในบ่อบาดาล แล้วลองโยกคันโยกน้ำดู คหบดีเทน้ำครึ่งถังลงไปในบ่อ แล้วลองโยกคันโยกน้ำ ผลปรากฏว่า ไม่มีน้ำไหลออกมาแม้สักหยด น้ำครึ่งถังกับแรงกายที่เขาทุ่มเทไปในการขึ้นลงเขา กลับสูญเปล่า ถึงตอนนี้คหบดีเริ่มนึกเสียดายน้ำอีกหนึ่งถัง ที่ตนลงแรงไปหาบมาจากตีนเขา แต่หากเขาไม่เทน้ำอีกถังหนึ่งลงไปในบ่อ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ก็มีเพียงน้ำถังเดียวนี้ ที่รอวันใช้จนหมด เมื่อคหบดีเข้าใจเหตุผล จึงได้ตัดสินใจเทน้ำเต็มถังลงไปในบ่อ จากนั้นลองโยกคันโยกน้ำดู ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จ…

Read more

สุดแล้วแต่

ณ อารามเซน ยังมีลานดินโล่งที่ถูกทิ้งแห้งแล้งผืนหนึ่ง เณรน้อยเห็นดังนั้นจึงเอ่ยกับอาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ศิษย์คิดว่าเราควรหาเมล็ดพืชมาหว่านลงบนดินผืนนี้สักหน่อยดีไหมครับ ปล่อยไว้แห้งแล้งเช่นนี้เห็นแล้วช่างไม่สบายตาเอาเสียเลย" อาจารย์เซนตอบว่า "เมื่อไหร่เมื่อนั้น สุดแล้วแต่" เมื่อถึงกลางฤดูใบไม้ร่วง เณรน้อยนำเมล็ดพืชไปหว่านลงบนดินผืนนั้น แต่กลับมีลมพัดมาหอบใหญ่ ยิ่งหว่านไปเท่าไหร่ เมล็ดพืชก็ถูกลมพัดปลิวไปกับสายลม เณรเห็นดังนั้นก็ตกใจมาก ตะโกนบอกอาจารย์ว่า "แย่แล้ว..ท่านอาจารย์ เมล็ดพืชโดนลมพัดไปแล้ว" อาจารย์เซนกลับไม่ตื่นตกใจ เพียงกล่าวว่า "ที่ลมพัดไปเป็นเพียงเมล็ดฝ่อ แม้จะหว่านลงในดินก็ไม่งอกเงย ปล่อยให้พวกมันสุดแล้วแต่ลมพาไปเถิด" เมื่อทำการหว่านเมล็ดพืชเรียบร้อย กลับมีนกกระจิบฝูงใหญ่แห่กันมากินเมล็ดพืช พอเณรน้อยเห็นดังนั้นก็กล่าวด้วยความกังวลว่า "แย่แล้ว..ท่านอาจารย์ นกกระจิบคงจะกินเมล็ดผักที่หว่านไว้จนหมดเป็นแน่" อาจารย์เซนจึงกล่าวกับเณรน้อยว่า "จงอย่ากังวล เมล็ดผักมากมาย นกกินไม่หมด จะกินเท่าไหร่ก็สุดแล้วแต่พวกมันเถิด" พอตกกลางคืน ฝนตกลงมาห่าใหญ่ ทำเอาเณรน้อยนอนไม่หลับ เนื่องจากเป็นห่วงว่า เมล็ดพืชจะลอยหายไปกับสายน้ำ พอเช้าขึ้นมาจึงรีบไปที่ลานดิน ปรากฏว่าเมล็ดผักอันตรธานไปดังคาด เณรน้อยทุกข์ใจยิ่งนัก จึงรีบวิ่งไปบอกอาจารย์เซนให้มาดู เมื่ออาจารย์เซนทราบเรื่องก็กล่าวว่า "เณรไม่ต้องทุกข์ใจไป เมล็ดพืชบางส่วนเพียงจมลงไปในดิน ส่วนเมล็ดพืชที่ลอยไปกับสายน้ำ เมื่อมันหยุดลงที่ไหน มันก็จะเจริญงอกงามขึ้น ณ ที่นั้นเอง สุดแท้แต่วาสนาเถิด" เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่วัน ยอดสีเขียวอ่อนของต้นพืชก็ปรากฏขึ้นมาเป็นหย่อมๆบนลานโล่ง ที่แท้เมล็ดพืชที่ไม่ไหลไปกับสายน้ำได้งอกขึ้นมาแล้ว เมื่อเณรน้อยเห็นดังนั้นก็ดีใจเป็นอันมาก รีบไปรายงานอาจารย์เซนทันทีว่า "พืชที่ศิษย์ปลูกงอกงามขึ้นมาแล้ว ช่างดีจังเลยครับท่านอาจารย์" อาจารย์เซนพยักหน้าพลางกล่าวแค่เพียงว่า "ดีแล้ว…

Read more

ยื้อไว้ไม่ยอมตาย กับ มีชีวิตอยู่อย่างดี

ในวันหนึ่งที่อากาศร้อนจัด มวลดอกไม้รอบบริเวณอารามเซนโดนแดดเผาจนเหี่ยวเฉา เมื่อเณรน้อยเห็นดังนั้น จึงกล่าวด้วยความตกใจว่า "แย่แล้ว ต้องรีบรดน้ำพวกมันสักหน่อย" จากนั้นจึงรีบยกถังไปตักน้ำตั้งท่าจะนำมารดต้นไม้ เมื่ออาจารย์เซนเห็นเหตุการณ์จึงกล่าวห้ามว่า "จงอย่ารีบร้อนไป ตอนนี้แสงแดดแรงมาก หากรดน้ำลงไป เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น จะพาลให้ดอกไม้ตายเป็นแน่ จงรอให้ถึงยามค่ำก่อนเถิดค่อยรดน้ำ" ยามค่ำ เหล่าดอกไม้ที่โดนแดดมาทั้งวัน ล้วนแห้งเหี่ยว เณรน้อยจึงบ่นว่า “ไม่รีบรดน้ำให้เร็วกว่านี้ ตอนนี้ดอกไม้พวกนี้คงแห้งตายไปหมดแล้ว ต่อให้รดน้ำยังไงก็คงไม่ฟื้นขึ้นมาหรอก" อาจารย์เซนได้ยินจึงปรามว่า "อย่าพูดมาก รดน้ำไป!" เมื่อได้น้ำที่ชุ่มฉ่ำราดรดลงไป ไม่นานเหล่าดอกไม้ก็กลับมาชูช่อดังเดิม เณรน้อยเห็นดังนั้นจึงอุทานด้วยความยินดีว่า "โอ้โฮ.. ดอกไม้เหล่านี้ช่างทนยิ่งนัก ยังสามารถยื้อไว้ไม่ยอมตาย" ทว่าอาจารย์เซนกล่าวแย้งว่า "เหลวไหล มิใช่ยื้อไว้ไม่ยอมตาย แต่เป็นการมีชีวิตอยู่อย่างดีต่างหาก" "แล้วมันต่างกันอย่างไร?" เณรน้อยถามด้วยความงุนงง อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า "ย่อมต่างกัน เราถามเจ้า ปีนี้เราอายุ 80 กว่าแล้ว เรียกว่าเรายื้อไว้ไม่ยอมตาย หรือมีชีวิตอยู่อย่างดี?" หลังจากเสร็จสิ้นการทำวัตรเย็น อาจารย์เซนเรียกเณรน้อยมาพบ ทั้งยังถามถึงเรื่องที่ค้างไว้ว่า "เป็นอย่างไร คิดออกแล้วหรือไม่?" "คิดไม่ออกครับ" เณรน้อยตอบ อาจารย์เซนจึงอธิบายว่า "เด็กโง่ ผู้ที่ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเอาแต่กลัวความตาย ย่อมเรียกว่า ยื้อไว้ไม่ยอมตาย ส่วนผู้ที่มองไปข้างหน้าในทุกๆวันจึงเรียกว่ามีชีวิตอยู่อย่างดี เมื่อมีโอกาสมีชีวิตอยู่ต่ออีกหนึ่งวัน ก็ต้องใช้มันให้ดีที่สุด ผู้ที่ยามมีชีวิตเอาแต่กลัวความตาย เอาแต่จุดธูปสวดมนต์ภาวนา เพื่อหวังว่าตายแล้วจะกลายเป็นพุทธะ…

Read more

ความกังวลของหญิงชรา

ในระหว่างที่อาจารย์เซนออกจาริกธรรม ได้รับนิมนต์ไปพำนักยังบ้านของหญิงชราผู้หนึ่ง ทว่าเมื่อไปถึงพบว่าหญิงชราหน้าตาอมทุกข์ ทั้งยังร้องไห้ไม่หยุด อาจารย์เซนจึงกล่าวกับนางว่า “ท่านมีความทุกข์ใจอันใดจึงร้องไห้ติดต่อกันไม่หยุดเช่นนี้?” หญิงชราตอบว่า "ข้ามีบุตรสาวอยู่สองคน คนโตแต่งออกไปให้กับพ่อค้าขายรองเท้าผ้า ส่วนคนเล็กแต่งให้กับพ่อค้าขายร่ม วันใดท้องฟ้าปลอดโปร่ง แดดจ้า ข้าก็เฝ้าแต่กังวลว่า ร้านขายร่มของบุตรสาวคนเล็กต้องขายไม่ได้เป็นแน่ จึงอดไม่ได้ที่จะทุกข์เศร้าแทนนาง แต่หากวันใดฟ้าครื้ม ฝนพรำ ข้าก็กังวลว่ากิจการร้านรองเท้าผ้าของบุตรสาวคนโตย่อมไม่ดีเป็นแน่ เพราะผู้คนไม่อยากใส่รองเท้าที่เปียกน้ำแฉะชื้น เมื่อทุกวันผ่านไปในลักษณะนี้ ข้าจึงได้แต่กังวลจนหลั่งน้ำตาออกมา" เมื่ออาจารย์เซนได้ฟังจึงกล่าวว่า "ที่แท้เป็นเช่นนี้ ท่านคิดแบบนี้ย่อมไม่ถูกต้องแล้ว" หญิงชราสงสัยจึงถามว่า "มารดาวิตกกังวลแทนบุตร มีอันใดไม่ถูกต้อง? ข้ารู้ว่ากังวลไปก็แก้ไขอะไรมิได้ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะคิดเป็นห่วงพวกนาง" ยามนี้ อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า "มารดาวิตกกังวลเพราะบุตรมิใช่เรื่องผิด แต่มารดาเบิกบานใจเพราะบุตรย่อมดีกว่า ท่านลองคิดดู เมื่อวันแดดจ้าฟ้าใส ร้านรองเท้าผ้าของบุตรสาวคนโตของท่านย่อมขายดิบขายดีเป็นพิเศษ และเมื่อถึงวันฝนตก กิจการร้านขายร่มของบุตรสาวคนเล็กก็ย่อมไปได้สวยเช่นกัน หากคิดเช่นนี้ท่านก็สามารถเบิกบานใจไปกับบุตรสาวทั้งสองได้ในทุกๆ วัน ไม่ต้องทุกข์เศร้าแล้ว" เมื่อหญิงชราได้ฟังคำแนะนำของอาจารย์เซน ก็กระจ่างแจ้ง จากนั้นเมื่อคิดได้จึงรู้สึกสบายใจ ทุกครั้งที่นึกถึงบุตรสาวทั้งสอง นางล้วนมีรอบยิ้มแห่งความสุขประดับบนใบหน้าเสมอ ปัญญาเซน : ไม่มีปัจจัยใดที่ทำให้คนเรามีความทุกข์ได้เท่ากับตัวของตัวเอง สุข-ทุกข์อยู่ที่ใจ เมื่อเปลี่ยนมุมมองความคิดก็เปลี่ยนได้แม้เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะอีกด้านของความทุกข์ก็คือความสุข ไม่ว่าเรื่องใด เมื่อมองให้ทุกข์ย่อมทุกข์ได้ มองให้สุขย่อมสุขได้ ดังนั้น จงหยุดสร้างทุกข์ให้กับตนเอง

Read more

อาจารย์เซนเก็บใบไม้

ขณะที่อาจารย์เซนติ่งโจวและพระลูกศิษย์กำลังทำวัตรอยู่ ณ อารามแห่งหนึ่ง พลันมีลมพัดมาหอบใหญ่ ทำเอาใบไม้บนต้นพากันร่วงหล่นลงมาเต็มลานดิน อาจารย์เซนจึงเดินออกไปก้มลงเก็บใบไม้เหล่านั้นใส่ย่ามทีละใบ ทีละใบ แต่ไม่ว่าจะเก็บสักเท่าไหร่ ใบไม้ก็ยังถูกลมพัดร่วงหล่นลงมาไม่หยุดหย่อน ศิษย์เซนเห็นดังนั้นจึงกลัวอาจารย์เซนลำบาก ร้องบอกออกไปว่า "ท่านอาจารย์มิต้องเก็บใบไม้เหล่านี้หรอก ยังไงๆ เสีย พรุ่งนี้เช้าพวกกระผมก็จะต้องเก็บกวาดทำความสะอาดลานวัดอยู่แล้ว ปล่อยให้มันร่วงลงมาเถิด" อาจารย์เซนติ่งโจว ตอบอย่างไม่ใส่ใจว่า "เจ้าไม่อาจกล่าวเช่นนั้น แม้จะเก็บกวาดแล้ว แต่การที่ข้าเก็บใบไม้ขึ้นมาอีกใบหนึ่ง ย่อมช่วยทำให้ขณะนี้มันสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม" ศิษย์ได้ฟังดังนั้นก็กล่าวแย้งว่า "อาจารย์ ใบไม้ร่วงมากมาย ขณะที่ท่านเดินเก็บไปถึงเบื้องหน้า เบื้องหลังท่านก็มีใบไม้ใบใหม่ร่วงลงมาเพิ่มอยู่ดี แล้วอย่างนี้ท่านจะเก็บหมดได้อย่างไร มิใช่เสียแรงเปล่าหรอกหรือ?" อาจารย์เซน ทางหนึ่งก้มหน้าก้มตาเก็บใบไม้ต่อไป อีกทางหนึ่งก็กล่าวกับลูกศิษย์ว่า "ใบไม้ไม่เพียงร่วงหล่นลงมาบนลานดินดอก แต่กลับร่วงหล่นลงบนลานในใจของเราท่านตลอดเวลา การเก็บกวาดใบไม้ก็เหมือนการชำระจิตใจ มิอาจปล่อยให้ใบไม้ทับถมจนยากแก้ไข เมื่อหมั่นเก็บกวาดใบไม้ที่อยู่ในใจไปเรื่อยๆ ย่อมเก็บกวาดจนหมดจดได้ในสักวัน"

Read more