มีชายผู้หนึ่ง โง่เขลาเบาปัญญา มิหนำซ้ำฐานะยากจน ทว่าอยู่มาวันหนึ่งด้วยโชควาสนาที่พอมีอยู่ ขณะที่ชายผู้นี้กำลังซ่อมแซมรั้วในสวนหลังบ้านซึ่งพังลงมาเพราะพายุฝน ได้บังเอิญขุดพบทองคำก้อนโตที่ฝังอยู่ริมรั้ว จนทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน แต่ด้วยความที่รู้ว่าสติปัญญาของตนเองค่อนข้างทื่อทึบ จึงเกรงว่าอาจจะถูกผู้อื่นมาหลอกลวงเอาเงินทองไป เขาจึงนำเรื่องไปปรึกษากับอาจารย์เซน
อาจารย์เซนแนะนำว่า "ในเมื่อตอนนี้ท่านมีเงิน ส่วนผู้อื่นมีปัญญา เหตุใดไม่นำเงินของท่านไปแลกปัญญาจากผู้อื่นเล่า?"
ชายผู้เป็นเศรษฐีใหม่ผู้นี้ จึงได้พกพาคำแนะนำของอาจารย์เซน ไปหาพระที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องทรงภูมิรู้ผู้หนึ่ง จากนั้นเอ่ยปากว่า "ท่านสามารถขายปัญญาของท่านให้กับข้าได้หรือไม่?"
พระรูปนั้นตอบว่า "ปัญญาของเรามีราคาแพงมาก"
ชายผู้โง่เขลาจึงรีบตอบว่า "ขอเพียงสามารถซื้อปัญญามาประดับสมอง แพงเท่าไหร่ข้าก็พร้อมยอมจ่าย"
เมื่อได้ฟังดังนั้น พระจึงกล่าวว่า "อันว่าปัญญานั้น คือเมื่อท่านประสบปัญหาใดก็ตาม อย่าใจเร็วด่วนได้รีบร้อนแก้ไข จงค่อยๆ เดินหน้า 3 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 3 ก้าว ทำเช่นนี้กลับไป-มาให้ครบ 3 รอบ เมื่อนั้นปัญญาจะเกิดขึ้น"
เมื่อชายผู้โง่เขลาฟังจบก็ได้แต่รำพึงในใจว่า "ที่แท้ "ปัญญา" ง่ายดายถึงเพียงนี้จริงหรือ?" เขาเชื่อครึ่งมิเชื่อครึ่ง ใจหนึ่งเกรงว่าจะโดนพระหลอกลวงเงินทอง ส่วนพระรูปนั้น เมื่อมองตาของชายผู้โง่เขลา ก็ล่วงรู้ถึงจิตเจตนาของอีกฝ่าย จึงได้กล่าวว่า "ท่านยังไม่จำเป็นต้องเชื่อเราตอนนี้ จงกลับไปก่อน หากทบทวนดูแล้วคิดว่าปัญญาของเราไม่คุ้มกับเงินทองก็จงอย่าได้กลับมา แต่หากคิดว่าคุ้มค่าก็ค่อยนำเงินมามอบให้เรา"
เศรษฐีใหม่ผู้โง่เขลากลับถึงบ้านยามค่ำ…
.
ครั้งหนึ่งอาจารย์เซนฝออิ้นและซูตงโพ เดินทางไปกราบพระยังวัดหลิงอิ่น ณ เมืองหางโจว เมื่อเข้าไปในอุโบสถ อาจารย์เซนฝออิ้นจึงกราบลงที่เบื้องหน้ารูปสลักไม้องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน
เห็นดังนั้น ซูตงโพก็เอ่ยถามขึ้นว่า "ผู้คนพากันกราบไหว้ สวดมนต์บูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่ไฉนในพระกรของพระองค์ก็มีประคำสำหรับสวดมนต์คล้องไว้เช่นเดียวกับคนธรรมดา อย่างนั้นองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมทรงสวดมนต์บูชาต่อผู้ใด?"
อาจารย์เซนฝออิ้นตอบว่า "บูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมเช่นกัน"
ซูตงโพจึงแย้งว่า "บูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม? นั่นใยมิใช่พระโพธิสัตว์กวนอิมสวดมนต์บูชาตนเองหรือ?"
อาจารย์เซนฝออิ้นจึงตอบว่า "นั่นเพราะพระองค์ทรงกระจ่างในใจมากกว่าเหล่าเวไนยสัตว์ ว่าที่แท้แล้ว ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน อย่างไรเล่า"
ปัญญาเซน : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ทุกข์จักดับได้ด้วยปัญญาแห่งตน
*** "ซูตงโพ(苏东坡)" ยอดนักกวีและนักปกครองในสมัยซ่งใต้ กับอาจารย์เซนฝออิ้น ณ วัดจินซาน ***
อาจารย์เซนเหลียงควน หากไม่อยู่ที่วัดหงฝ่า ก็มักจะไปพำนักอยู่อย่างสมถะในกระท่อมมุงจาก บริเวณเชิงเขาอันเงียบสงบ
คืนวันหนึ่ง เมื่ออาจารย์เซนกลับมาจากการแสดงธรรมเทศนา พลันพบว่ามีขโมยผู้หนึ่งกำลังค้นหาของมีค่าอยู่ภายในกระท่อมน้อยเชิงเขา ซึ่งเป็นที่พำนักของตน เมื่อขโมยพบเห็นอาจารย์เซน ก็ตกใจเป็นอันมาก
ฝ่ายอาจารย์เซนเหลียงควน กล่าวกับขโมยว่า
“ไม่พบของมีค่าที่จะนำไปได้ใช่หรือไม่ เกรงว่าการมาของท่านครั้งนี้คงจะเสียเที่ยวเปล่า เช่นนี้เถอะ เรามีเพียงจีวรที่สวมใส่อยู่เท่านั้นที่พบว่าพอจะมีมูลค่าให้ท่านหยิบฉวยนำไปได้”
กล่าวจบแล้วจึงปลดจีวรมอบให้ขโมยไป
เมื่อขโมยรับจีวรมาแล้ว ก็รีบวิ่งหนีไป ส่วนอาจารย์เซนยังคงยืนอยู่ท่ามกลางแสงจันทร์กระจ่าง มองแผ่นหลังของขโมยที่ค่อยๆ ลับจากสายตา พลางรำพึงออกมาว่า
“น่าเสียดาย ที่เราไม่อาจมอบแสงสว่างอันงดงามของดวงจันทร์ให้ท่านนำกลับไปได้”
“แสงสว่างอันงดงามของดวงจันทร์” ที่อาจารย์เซนเอ่ยถึงนั้น ที่แท้แล้วคือจิตเดิมแท้ของสรรพสัตว์ อันเป็นจิตที่บริสุทธิ์ก่อนถูกปรุงแต่งด้วยกิเลสทั้งปวง และเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ที่หลายคนไม่เคยตระหนักถึง
แต่ก่อนนานมาแล้ว ยังมีชายชราคนหนึ่ง แก่มากจนตัวเองก็จำไม่ได้เช่นกันว่าตัวเองอายุเท่าไรแล้ว ใบหน้าของแกอิ่มเอิบเปล่งประกายเลือดฝาด เคราสีเงินยวงสะอาดตาของแกยาวปกคลุมมาถึงหน้าอก ร่างกายของแกแข็งแรงมาก ตาก็ยังไม่ฝ้าฟาง หูก็ยังไม่หนวก แกมีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง แต่แกก็ยังเป็นคนจัดการทุกสิ่งทุกอย่างภายในกิจการของครอบครัว ปีนี้แกตัดสินใจว่าจะเลือกใครคนหนึ่งจากลูกชาย 15 คน ของแก มาสืบทอดภารกิจในการบริหารกิจการนี้เสียที แต่ว่า จะเลือกใครดีล่ะ
วันนี้ แกคิดวิธีที่ดีที่สุดได้แล้ว จึงสั่งให้ลูกชายทั้ง 15 คนมาพบ แล้วแจกเมล็ดดอกไม้ให้ลูก ๆ คนละ 1 เมล็ด หากใครสามารถปลูกเมล็ดพืชเม็ดนี้ให้งอกงามจนออกดอกบานสะพรั่ง คนนั้นก็จะได้เป็นผู้สืบทอดมรดกของแก ลูก ๆ ได้เมล็ดพืชมาแล้ว ต่างนำไปปลูกและดูแลอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ลูกชายคนเล็กของชายชราผู้นี้มีชื่อว่า “เสี่ยวเหลียงจือ” เมื่อได้เมล็ดดอกไม้แล้ว แกก็นำไปปลูกในกระถาง รดน้ำเอาใจใส่อย่างดีทุกวันทุกคืน แต่เมล็ดพืชเม็ดนั้นก็ยังคงไม่แตกกล้าสักที เสี่ยวเหลียงจือรู้สึกเศร้าโศกเสียใจมาก
เวลาผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว ฤดูร้อนย่างกรายมาถึงแล้ว ชายชราผู้เป็นพ่อกำหนดว่าวันนี้จะเป็นวันคัดเลือกกระถางดอกไม้ของลูก ๆ ทุกคนต่างอุ้มกระถางดอกไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งอย่างสวยสดงดงามมาให้ผู้เป็นพ่อชม เพื่อรอการคัดเลือก
ชายชราเดินตรวจดอกไม้ที่สวยงามในมือของลูก ๆ ด้วยสีหน้าที่ไม่มีแววยินดีแม้แต่น้อย แกเดินตรวจจากบุตรชายคนโตมาจนถึงบุตรชายคนที่ 14 โดยมิได้หยุดเลย
แต่เมื่อเดินมาถึงเสี่ยวเหลียงจือ บุตรชายคนสุดท้อง ซึ่งยืนถือกระถางเปล่าที่ไม่มีทั้งต้นไม้และดอกไม้…
ในอดีตมีพระเซนรูปหนึ่ง เขามีศิษย์เกียจคร้านเอาแต่นอนหลับทั้งวัน วันหนึ่งศิษย์ผู้นี้นอนจนสายก็ยังไม่ตื่น ทำให้พระเซนไม่พอใจ จึงต่อว่าลูกศิษย์ว่า "เวลาสายขนาดนี้ ตะวันส่องจนแม้แต่ฝูงเต่ายังพากันคลานออกนอกบึงบัวมารับแสงแดดกันหมดแล้ว เหตุใดตัวเจ้ากลับมัวแต่นอนอยู่ได้"
เวลาเดียวกันนั้นเอง บริเวณใกล้เคียงมีคนผู้หนึ่งที่กำลังต้องการจับเต่าไปแกงเป็นยาให้มารดาซึ่งกำลังป่วยรับประทาน เมื่อได้ฟังพระเซนบอกว่ามีเต่าออกมาจากบึง จึงได้รีบไปจับเต่ามาเชือดจากนั้นนำเนื้อมาปรุงเป็นแกงเต่า ทั้งยังแบ่งแกงเต่ามาให้พระเซนเพื่อแสดงความขอบคุณที่ชี้ทางให้อีกด้วย
ฝ่ายพระเซน เมื่อทราบว่าการพูดจาโดยไม่ได้ตั้งใจของตนเอง เป็นต้นเหตุแห่งการตายของบรรดาเต่าก็เกิดความรู้สึกผิดอย่างยิ่ง เพราะหากตนไม่เอ่ยปากพูดไปเช่นนั้นเต่าก็คงไม่โดนพบเห็น พระเซนจึงได้ให้คำมั่นกับตัวเองว่าต่อไปจะไม่เอ่ยปากพูดจาอีกเลยตลอดชีวิตเพื่อเป็นการชดใช้บาปที่ทำไว้ ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้ขึ้นอีกในภายภาคหน้า
เวลาผ่านไปไม่นาน ขณะที่พระเซนนั่งอยู่บริเวณหน้าวัด เขาพลันพบว่ามีชายตาบอดผู้หนึ่งกำลังเดินหลงทิศ มุ่งหน้าลงไปยังบึงบัวนั้น แต่จนใจที่พระเซนให้สัญญากับตัวเองเอาไว้ว่าจะไม่เปิดปากพูด จึงไม่สามารถร้องเตือนชายตาบอดได้ แต่หากไม่เอ่ยปากตักเตือน ชายตาบอดคงต้องตกลงไปในบึงบัวเป็นแน่
พระเซนเอาแต่ลังเลว่าจะทำเช่นไรดี ปล่อยเวลาผ่านไป ในที่สุดชายตาบอดก็เดินตกลงไปในบึงบัว จมน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระเซนโศกเศร้าเสียใจหาที่เปรียบมิได้ และตระหนักได้ว่าการไม่ยอมพูดจาของตนในครั้งนี้ กลับกลายเป็นการทำร้ายทำลายชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเสียดาย ความผิดสองครั้งที่ผ่านมาของตนคือการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด แต่กลับไม่พูดในเวลาที่ควรพูด
ปัญญาเซน : มนุษย์จำเป็นที่จะต้องใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิตอยู่บนโลก แม้แต่การพูดจาก็ต้องใช้ปัญญา นั่นคือพูดสิ่งที่ควรในเวลาที่เหมาะ นอกจากนี้ต้องพึงระลึกว่า ในการดำรงชีวิตของคนเรา ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่การให้อภัยต่างหากที่เป็นสิ่งเหนือธรรมดา คนเราไม่เพียงต้องรู้จักให้อภัยผู้อื่น ทั้งยังต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัยตนเอง
ราหนึ่งอาจารย์เซนรับศิษย์หลายราย ทว่าเมื่อพิจารณาดูแล้ว ยังไม่มีผู้ใดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาปรัชญาเซน เนื่องเพราะผู้มาใหม่เหล่านี้ ล้วนยังติดกับความสุขสบายภายนอก มีทั้งผู้ที่ตะกละ เกียจคร้าน เลี่ยงงาน ดังนั้นอาจารย์เซนจึงได้เล่านิทานเรื่องหนึ่งให้เหล่าลูกศิษย์ฟัง เรื่องมีอยู่ว่า...
ยังมีคนผู้หนึ่ง เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็ได้ออกจากร่างล่องลอยไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ขณะถึงประตูทางเข้านายทวารได้เอ่ยถามขึ้นว่า
"เจ้าชอบกินอาหารใช่ไหม?...ที่นี่มีอาหารเลิศรสมากมายให้เจ้ากิน เจ้าชอบนอนหลับด้วยใช่ไหม?...ที่นี่เจ้าจะนอนนานเท่าไหร่ก็ไม่มีใครรบกวน และเจ้ารักความสนุกสนานใช่ไหม?...ที่นี่มีกิจกรรมสนุกๆ มากมายให้เจ้าเลือกทำ อีกทั้งเจ้ายังรังเกียจการทำงานใช่หรือไม่?...พอดีที่นี้รับประกันได้ว่า เจ้าจะไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่มีใครวุ่นวายกับเจ้าแน่นอน"
วิญญาณผู้มาใหม่ได้ยินเช่นนั้นก็ดีใจเป็นอันมาก เข้าใจว่าตนเองมาถึงประตูสวรรค์แล้ว จึงตกลงใจอยู่ที่นี่ และผ่านวันเวลาไปด้วยการกิน นอน เล่น กิน นอน เล่น วนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างสำราญใจ
วันเวลาผ่าไป 3 เดือน วิญญาณเริ่มรู้สึกไร้รสชาติ อาหารและความสุขสบายที่ได้รับเริ่มกลายเป็นความจำเจ น่าเบื่อหน่าย จึงได้ตัดสินใจไปพบนายทวารพลางกล่าวว่า
"วันเวลาเช่นนี้ นานๆเข้ากลับไม่มีอันใดดี เนื่องเพราะข้าเล่นมากเกินไป จนไม่เหลืออะไรที่น่าสนุกสำหรับข้าอีก กินอิ่มเกินไปจนอ้วนเอาอ้วนเอา นอนมากเกินไปจนสติปัญญาเชื่องช้าเลอะเลือน ไม่ทราบว่าท่านมีงานอะไรให้ข้าทำบ้างหรือไม่?"
นายทวารตอบว่า "ขออภัยด้วย ที่นี้ไม่มีงานอันใด"
เวลาผันผ่านไปอีกกว่า 3 เดือน วิญญาณนั้นทนต่อไปไม่ไหวแล้ว จึงไปพูดกับนายทวารอีกครั้งว่า
"ข้าทนอยู่ในสภาพนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว หากท่านยังไม่ยอมมอบงานอื่นใดให้ข้าทำ…
ยังมีพ่อค้าของเก่าจอมเจ้าเล่ห์รายหนึ่ง เดินทางผ่านมายังอารามเซน ขณะมองเข้าไปในอาราม บังเอิญพบเห็นโต๊ะโบราณซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นของที่เคยใช้ภายในราชสำนัก ตัวหนึ่งตั้งอยู่ด้านใน
โต๊ะตัวนี้งดงามยิ่ง ทำจากไม้หายากลวดลายแกะสลักวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะมองในแง่คุณค่าทางศิลปะ หรือมูลค่าแท้จริงก็ล้วนจัดว่าโต๊ะตัวนี้คือของล้ำค่า เมื่อเห็นดังนั้นพ่อค้าจึงตาลุกวาว คิดแผนการณ์ว่าทำอย่างไรจึงจะได้โต๊ะมาในราคาที่คุ้มทุนที่สุด
ขณะนั้น เป็นเวลาพอดีกันกับที่เณรน้อยรูปหนึ่ง ต้องนำโต๊ะตัวดังกล่าวออกมารับแสงแดด และเช็ดถูทำความสะอาด พ่อค้าจึงได้จังหวะเข้าไปพูดคุยกับเณรว่า "โต๊ะตัวนี้เป็นโต๊ะที่งดงามยิ่ง" เณรน้อยมิตอบคำ ตั้งหน้าตั้งตาเช็ดโต๊ะต่อไป
พ่อค้าจึงกล่าวอีกว่า "แม้ว่าจะสวยงาม แต่น่าเสียดายที่มันเป็นของปลอม เพราะของจริงนั้นตั้งอยู่ที่บ้านของข้าเอง" เณรน้อยยังคงมิใส่ใจ
พ่อค้าไม่ละความพยายามกล่าวต่อไปอีกว่า "น่าเสียดาย เมื่อตอนที่ข้าย้ายบ้าน ไม่ทันระวังทำขาโต๊ะโบราณของข้าหักไป 2 ข้าง อยากถามท่านเณรว่าสามารถขายโต๊ะตัวนี้ให้กับข้าในราคา 1 พันตำลึงได้หรือไม่? "
ครานี้เณรจึงเอ่ยปากออกมาว่า "ในเมื่อท่านบอกว่าโต๊ะตัวนี้เป็นของปลอม เช่นนั้นท่านจะซื้อไปทำไมหรือ?"
พ่อค้ารีบตอบว่า "ข้าคิดว่าจะนำขาของโต๊ะของปลอมตัวนี้ไปซ่อมขาโต๊ะที่เป็นของแท้ที่บ้านของข้า ทำเช่นนี้ท่านเณรก็ได้ประโยชน์สามารถนำเงินไปซื้อโต๊ะของแท้ตัวใหม่ ส่วนข้าก็ได้ซ่อมแซมโต๊ะโบราณอันเป็นสมบัติดั้งเดิมของตระกูลได้สำเร็จ"
เณรนิ่งคิดครู่หนึ่ง จึงตอบตกลงตามข้อเสนอของพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์
พ่อค้าเห็นดังนั้น ก็พยายามกดข่มความลิงโลดใจไม่ให้ออกนอกหน้า ขณะที่ในใจดีดลูกคิดรางแก้วคำนวณราคาของโต๊ะไว้เสร็จสรรพว่าหากนำโต๊ะที่ได้จากอารามเซนตัวนี้ไปขาย คงได้ราคาไม่ต่ำกว่าสิบหมื่นตำลึง
ขณะเดียวกับก็ลอบตำหนิตนเองที่เสนอราคาให้เณรไปถึง 1 พันตำลึง จากนั้นพ่อค้าหัวใส จึงออกปากให้เณรช่วยยกโต๊ะออกไปรอไว้นอกอาราม ส่วนตนเองออกไปหาเสาะรถมาขนย้ายโต๊ะ ด้วยความอิ่มอกอิ่มใจที่ทำการค้าสำเร็จ
เวลาผ่านไป…
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าขาด ท่าทางเฉื่อยชา เอาแต่นั่งทอดหุ่ยปล่อยให้แสงแดดโลมเลียร่างกาย สลับกับหาวหวอดๆ เป็นระยะ
เมื่ออาจารย์เซนเดินผ่านมาพบคนผู้นี้เข้า จึงเกิดความประหลาดใจจนต้องเอ่ยถามว่า "พ่อหนุ่ม อากาศดีๆ ในฤดูกาลที่นานๆ จะเวียนมาถึงเช่นนี้ เหตุใดเอาแต่มานั่งเปล่าประโยชน์ ใยไม่ไปลงมือทำสิ่งที่ต่างๆ ควรทำ เจ้าไม่เสียดายช่วงเวลาดีๆ เช่นนี้หรอกหรือ?"
ชายหนุ่มถอนใจครั้งหนึ่ง พลางตอบว่า "บนโลกใบนี้ นอกจากร่างกายแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าสักอย่าง เช่นนั้นใยต้องสิ้นเปลืองแรงกายแรงใจไปกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยเล่า?"
"เจ้าไม่มีบ้านหรือ?" อาจารย์เซนถาม "ไม่มี หากมีบ้านก็ต้องเป็นภาระคอยดูแล เช่นนั้นไม่ต้องมีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มตอบ
"เจ้าไม่มีคนที่เจ้ารักหรือ?" อาจารย์เซนถามต่อ "ไม่มี หากมีคนรัก เมื่อหมดรักก็กลายเป็นความเกลียดชัง สู้ไม่มีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มว่า
"แล้วมิตรสหายเล่า มีหรือไม่?" อาจารย์เซนไม่ละความพยายาม "ไม่มี เมื่อมีเพื่อน สักวันก็ต้องสูญเสียเพื่อน แล้วจะมีไปทำไม" ชายหนุ่มท้วง
"เจ้าไม่คิดจะทำงานหาเงินบ้างหรือ?" อาจารย์เซนยังคงถามต่อไป "ไม่คิด ได้เงินมาสุดท้ายก็ต้องจับจ่ายออกไป เช่นนั้นใยต้องไปสิ้นเปลืองพลังงานหามาตั้งแต่ต้น" ชายหนุ่มกล่าวแย้ง
"อ้อ" สุดท้ายอาจารย์เซนพยักหน้ารับรู้ แต่ยังคงกล่าวว่า "ท่าทางข้าต้องรีบไปหาเชือกมามอบให้เจ้าสักเส้นหนึ่งแล้ว"
"เหตุใดต้องมอบเชือกให้ข้า?"…
ยังมีสาวสะคราญนางหนึ่ง เป็นผู้มีความเพียบพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ฐานะตระกูลสูงส่ง เหนือกว่าผู้อื่นในทุกๆ ด้าน ซึ่งนางเองก็ทราบข้อนี้ดี แต่กลับไร้ซึ่งความสุข
แม้อยากหาใครปรับทุกข์ด้วยก็มิมีแม้สักคนเดียว ดังนั้นนางจึงไปกราบนมัสการอาจารย์เซนอู๋เต๋อ และถามว่าทำอย่างไรนางจึงจะเพิ่มพูนเสน่ห์ในตนเอง เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น
อาจารย์เซนอู๋เต๋อบอกกับนางว่า "ไม่ยาก ต่อจากนี้ไปหากสีกามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใดก็ตาม จงเป็นไปด้วยจิตเมตตา พูดคำเซน ฟังเสียงเซน ปฏิบัติกิจของเซน มีจิตแห่งเซน เช่นนี้สีกาจะกลายเป็นผู้เปี่ยมด้วนเสน่ห์"
เมื่อหญิงสาวนางนี้ได้ฟังคำแนะนำ ก็เอ่ยถามว่า "คำเซน เป็นเช่นใดเล่าท่านอาจารย์?"
อาจารย์เซนอธิบายว่า "คำเซน คือคำพูดในเรื่องดีงาม พูดความจริง พูดอย่างอ่อนน้อม พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์"
หญิงสาวยังคงถามต่อไป "แล้วเสียงเซน คือเช่นไร?"
อาจารย์เซนอู๋เต๋อกล่าวต่อไปว่า "เสียงเซน คือการฟังเสียงทุกอย่างให้ลึกซึ้ง ทำเสียงก่นด่าให้เป็นเสียงแห่งความเมตตา ทำเสียงคำพูดให้ร้ายให้เป็นคำชื่นชม หากสีกาฟังเสียงร้องไห้ เสียงคำพูดบิดเบือน เสียงหยาบคาย โดยไม่ถือสา นั่นคือเสียงแห่งเซน"
"ถ้าเช่นนั้น กิจของเซน เล่า เป็นอย่างไร?" หญิงสาวยังคงซักต่อ "การให้ทานคือกิจของเซน ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความมีเมตตา ทำประโยชน์ให้สาธารณะ ล้วนเป็นกิจของเซน"…
ครั้งที่อาจารย์เซนเฉิงจัว (Seisetsu Shucho) จาริกธรรมยังวัดหงฝ่า (弘法寺) มณฑลเจ้อเจียง จนได้รับความเคารพศรัทธายิ่งนัก
ทุกครั้งที่มีการแสดงธรรมเทศนา ล้วนมีผู้คนมารอฟังอย่างเนืองแน่นจนกลายเป็นแออัด
จึงมีผู้เสนอให้ร่วมกันบริจาคเงิน เพื่อสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้มีศรัทธา ในพุทธศาสนานิกายเซนจำนวนมากให้ได้มาร่วมกันฟังธรรม
เมื่อเห็นตรงกัน อุบาสกผู้หนึ่งจึงนำถุงบรรจุเงินห้าสิบตำลึงทองมาถวายให้อาจารย์เซนเฉิงจัว โดยระบุว่าขอร่วมบริจาคเงินสร้างหอแสดงธรรมแห่งใหม่ อาจารย์เซนเฉิงจัวจึงรับเงินมาเก็บไว้ จากนั้นลงมือทำกิจวัตรประจำวันต่อไปตามปกติ
อุบาสกผู้บริจาคเงินก้อนใหญ่เห็นดังนั้น รู้สึกไม่สบอารมณ์อย่างยิ่ง เนื่องเพราะเขาเห็นว่าเงินห้าสิบตำลึงทองจัดว่ามากโข คนธรรมดาสามัญสามารถใช้เงินจำนวนนี้ดำรงชีวิตได้หลายปีทีเดียว
ทว่าอาจารย์เซนกลับรับเงินไปด้วยท่าทางเฉยเมย ไม่มีการให้ศีลให้พร แม้แต่คำว่า "ขอบคุณ" สักคำยังไม่ยอมเอ่ย เมื่อคิดได้ดังนั้น อุบาสถผู้นี้จึงเดินไปเน้นย้ำต่ออาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ข้านำเงินมามอบให้ถึงห้าสิบตำลึงทองเชียวนะ"
อาจารย์เซนเฉิงจัวได้ยินดังนั้น ก็ตอบกลับด้วยอาการสงบว่า "อาตมาทราบดี เพราะท่านบอกอาตมาแล้ว"
จากนั้นจึงเดินต่อไปโดยไม่เหลือบแลกลับมาอีก อุบาสกเห็นดังนั้นจึงขึ้นเสียงสูง ร้องว่า
"นี่ท่าน! วันนี้ข้ามอบเงินทำบุญถึงห้าสิบตำลึงทอง ไม่ใช่เงินน้อยๆ หรือว่าแค่คำขอบคุณสักคำ ท่านก็กล่าวเพื่อตอบแทนข้าไม่ได้เชียวหรือ?"
ยามนั้น อาจารย์เซนจึงได้หยุดและกล่าวว่า "ท่านทำบุญเพื่อเพิ่มพูนศีลธรรมบารมีให้ตัวท่านเอง แล้วเหตุใดอาตมาต้องขอบคุณท่านด้วยเล่า"
การทำบุญย่อมได้บุญ จิตผ่องใสนั่นเป็นบุญ